ถ้าหากคุณกำลังวางแผนที่จะทำการวิจัยเชิงปริมาณอยู่ การใช้แบบสำรวจหรือ Survey ถือเป็นหนึ่งในวิธีการเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนมากได้ อีกทั้งยังใช้เวลารวดเร็ว และค่าใช้จ่ายไม่สูง

สำหรับบทความนี้ GOT ITZ ได้รวบรวม 7 ประโยชน์หลัก ๆ ในการใช้แบบสำรวจในงานวิจัยเชิงปริมาณ และวิธีที่สามารถปรับปรุงคุณภาพ และความถูกต้องของผลการวิจัยของคุณ

การรวบรวมข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ

1. การรวบรวมข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ

แบบสำรวจช่วยให้คุณสามารถรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วและคุ้มค่า โดยสามารถส่ง หรือกระจายแบบสำรวจทั้งทางออนไลน์ ทั้งในรูปแบบพิมพ์แจกให้ทำได้ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้หลากหลาย และรวบรวมข้อมูลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันสั้น

2. การกำหนดมาตรฐาน

แบบสำรวจเป็นวิธีมาตรฐานในการรวบรวมข้อมูล เนื่องจากส่วนมากแล้วเราจะจัดทำแบบสำรวจเพียงชุดเดียวสำหรับส่งให้ผู้ตอบทุกคน ตั้งนั้นทั้งในส่วนของตัวคำถาม และตัวเลือกคำตอบจะเหมือน ๆ กัน มาตรฐานของแบบสำรวจนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของอคติ ทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือและเปรียบเทียบได้มากขึ้น

3. ง่ายต่อการจัดการ

แบบสำรวจนั้นง่ายต่อการจัดการและสามารถทำได้ตามความสะดวกของผู้ตอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบสำรวจที่จัดทำผ่านทางออนไลน์ ผู้ส่งสามารถส่งได้ตลอดเวลา และผู้ทำก็สามารถเลือกเวลาที่ตนเองสะดวกทำตราบเท่าที่ยังอยู่ในระยะเวลาการทำวิจัย ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากในระยะเวลาจำกัด รวมทั้งการที่ผู้เข้าร่วมแบบสำรวจสามารถเลือกทำเมื่อไหร่ก็ได้ที่ตัวเองพร้อมนั้น ทำให้เราสามารถเข้าถึงประชากรที่มีงานยุ่งในระยะเวลากลางวัน หรือประชากรที่อยู่ห่างไกลได้ง่ายขึ้น

ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน

4. ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน

แบบสำรวจสามารถเป็นแบบไม่เปิดเผยตัวตนได้ โดยเฉพาะแบบสำรวจออนไลน์ที่ผู้ทำแบบสำรวจนั้นอาจจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าใครเป็นคนตอบแบบสำรวจอยู่บ้าง

ซึ่งการที่ผู้ตอบแบบสำรวจนั้นไม่ต้องเปิดเผยตัวตน ทำให้ผู้ตอบแบบสำรวจหรือแบบสอบถามมีความโอเคในการเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น เลือกตอบตามความเป็นจริงไม่ยึดติดกับค่านิยมทางสังคม สิ่งเหล่านี้ช่วยให้ผลงานวิจัยเชิงปริมาณมีความถูกต้องมากขึ้น เป็นความจริงมากขึ้น สะท้อนถึงความคิดเห็นและพฤติกรรมที่แท้จริงของกลุ่มประชากรตัวอย่างที่เรากำลังทำวิจัย

5. ข้อมูลเชิงปริมาณ

แบบสำรวจจะทำให้เราได้ข้อมูลกลับมาเป็นข้อมูลออกมาเป็นตัวเลขหรือเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ ที่สามารถวิเคราะห์และทดสอบทางสถิติได้ง่ายผ่านเครื่องมือทางสถิติต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้นักวิจัยสามารถสรุปผลตามวัตถุประสงค์และสรุปภาพรวมเกี่ยวกับกลุ่มประชากรได้

6. ความยืดหยุ่นในการออกแบบ

เราสามารถออกแบบแบบสำรวจให้ง่ายสำหรับเด็ก หรือทั้งยากและซับซ้อนสำหรับงานวิจัยที่เฉพาะเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในสาขานั้น ๆ

นอกจากความยากง่ายที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามบริบทของงานวิจัยแล้ว แบบสำรวจยังสามารถเพิ่มคำถามย่อย เพิ่มรูปภาพ หรือเพิ่มมัลติมีเดีย (หากเป็นแบบสำรวจผ่านออนไลน์) ได้ตามความเหมาะสม เหล่านี้คือความยืดหยุ่นที่แบบสำรวจสามารถตอบสนองเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับจุดประสงค์ ความต้องการ และเป้าหมายของการวิจัยให้ได้มากที่สุด

สามารถเปรียบเทียบข้อมูลได้ง่าย
7. สามารถเปรียบเทียบข้อมูลได้ง่าย

สามารถออกแบบแบบสำรวจเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มต่างๆ หรือเมื่อเวลาผ่านไป สิ่งนี้ทำให้สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงหรือแนวโน้มในทัศนคติหรือพฤติกรรม และเพื่อระบุความแตกต่างหรือความคล้ายคลึงกันระหว่างกลุ่มย่อย

แบบสำรวจเป็นเครื่องมือสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณที่มีประโยชน์มาก ทั้งสามารถช่วยรวบรวมข้อมูลได้อย่างมีมาตรฐาน ได้ปริมาณ และรวดเร็ว นอกจากนั้นการใช้แบบสำรวจ ยังสามารถช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพ ความถูกต้อง และความเกี่ยวข้องของผลการวิจัยของคุณ และช่วยให้มั่นใจในการตัดสินใจตามข้อมูลที่มีอยู่ทั้งของเดิมและข้อมูลใหม่ที่ค้นพบ

หากองค์กรใดต้องการผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำงานวิจัยตลาด หรือวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค สามารถติดต่อมาได้ที่ admins@gotitz.com