ข้อมูลส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง และสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่เคยรู้ ข้อมูลส่วนบุคคลมี 2 ประเภทข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปและข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ซึ่งการเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งเพื่อใช้ในการตรวจสอบสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูล เนื่องจากปัจจุบันนี้โลกแห่งดิจิทัลเป็นการเชื่อมต่อที่ไร้พรหมแดนเข้าถึงเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อท่องโลกออนไลน์ได้อย่างอิสระ แต่ในขณะเดียวกันการท่องโลกออนไลน์ก็มีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการเพื่อเป็นฐานสำหรับการดำเนินธุรกิจและพัฒนาองค์กร สำหรับการนำเสนอสิ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างดีที่สุด ดังนั้น เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงสิทธิ์ที่ต้องควบคุมและรับรู้ เพื่อควบคุมดูแลให้องค์กรต่างๆ นำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้อย่างถูกกฎหมาย และในบทความนี้ จะพาคุณไปทำความรู้จักเช็กลิสต์ข้อมูลส่วนบุคคลพร้อมรายละเอียดของสิทธิ์ที่เจ้าของข้อมูลไม่เคยรู้มาก่อน

 

ข้อมูลส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง

ทำไมต้องรู้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง

ทำไมเรื่องของข้อมูลส่วนบุคคลถึงถูกนำมาพูดถึงอย่างแพร่หลาย เนื่องจากการมาถึงของกฎหมาย PDPA ที่ย่อมาจาก Personal Data Protection Act โดยเป็น พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคล พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่จะทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในด้านข้อมูลส่วนตัว จัดการเกี่ยวกับการละเมิดความเป็นส่วนตัวและข้อมูลต่างๆ ที่เกินขอบเขต โดยกฎหมาย PDPA จะถูกบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 โดยกฎหมาย PDPA จะเป็นข้อบังคับที่เข้ามาทำหน้าที่ ในการคุ้มครองสิทธิด้านข้อมูลส่วนตัวของกลุ่มเป้าหมายและผู้บริโภค ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าของข้อมูลหรือผู้บริโภคจำเป็นต้องรู้จักว่าข้อมูลส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง เพื่อใช้เป็นเกราะในการปกป้องสิทธิ์ไม่ให้องค์กรและธุรกิจต่างๆจะไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ หากปราศจากการยินยอมของเจ้าของข้อมูล

 

ข้อมูลส่วนบุคคลหมายถึงอะไร

ในโลกดิจิทัลข้อมูลคือสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคล ที่หมายถึงข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวกับกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะสิ่งที่จะเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็น พร้อมทั้งเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะตัว ตัวตนและเรื่องราวของเจ้าของข้อมูล ข้อมูลส่วนตัวจะสามารถระบุตัวตนของบุคคลนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ชื่อ – นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ ข้อมูลด้านการทำงาน ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลด้านการเงิน และอื่นๆ ที่สิ่งเหล่าสามารถแสดงถึงลักษณะของตัวบุคคล หรือเป็นการระบุตัวบุคคลได้นั่นเอง

 

ข้อมูลส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง

ข้อมูลส่วนบุคคลมีอะไรบ้างเป็นอีกหนึ่งคำถามที่เจ้าข้อมูลจำเป็นต้องศึกษาเพื่อใช้ในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของตน สำหรับข้อมูลส่วนบุคคลนั้นมีอยู่หลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างที่ล้วนเป็นข้อมูลส่วนตัว ที่เราคุ้นเคยและรู้จักกันเป็นอย่างดี ดังต่อไปนี้

ข้อมูลส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง : ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป

  • ชื่อเล่น, ชื่อจริง นามสกุลจริง
  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่ยืนยันตัวตน เช่น หมายเลขประจำตัวประชาชน หมายเลขใบอนุญาตขับขี่ หมายเลขหนังสือเดินทาง เลขประจำตัวผู้เสียภาษี รวมถึงเลขบัตรเครดิต และหมายเลขธนาคาร ที่จะเห็นได้ว่าเป็นข้อมูลที่ได้มาและแสดงถึงตัวตนของผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน
  • ตำแหน่งที่ตั้ง ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย ที่อยู่ที่ติดต่อได้ ที่อยู่ที่จัดส่งเอกสาร
  • อีเมลและหมายเลขโทรศัพท์ สำหรับการติดต่อ
  • ข้อมูลของเครื่องมือและอุปกรณ์ ยกตัวอย่าง หมายเลข IP Address เป็นต้น
  • ข้อมูลรูปแบบ Biometric หรือ ข้อมูลชีวมิติ ที่แสดงถึงตัวตนผ่านการประเมินและวิเคราะห์ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลจากลายนิ้วมือ ข้อมูลใบหน้าสำหรับการสแกนใบหน้า ข้อมูลการสแกนม่านตา และฟิล์มเอกซเรย์ เป็นต้น
  • ข้อมูลที่แสดงรายละเอียดทรัพย์สินส่วนบุคคล ยกตัวอย่างเช่น โฉนดบ้าน โฉนดที่ดิน และทะเบียนรถ เป็นต้น
  • ข้อมูลจากไมโครฟิล์ม ที่สามารถระบุตัวตนของบุคคล
  • ข้อมูลบันทึกกิจกรรม การดำเนินการและสิ่งต่างๆ ของบุคคล

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่นๆ ที่จะต่อเนื่องไปยังข้อมูลที่ระบุไว้ข้างต้น เพื่อแสดงถึงตัวตนของเจ้าของข้อมูล เช่น

  • ข้อมูลด้านการเงิน
  • ข้อมูลด้านการจ้างงาน
  • ข้อมูลด้านการศึกษา
  • ข้อมูลด้านการแพทย์
  • สถานที่เกิด วัน เดือน ปีเกิด
  • สัญชาติ
  • น้ำหนักและส่วนสูง

ข้อมูลส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง : ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว

ในการจำแนกข้อมูลส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง นอกจากจะมีข้อมูลส่วนบุคคลแบบทั่วไปแล้ว ยังมีข้อมูลส่วนตัวที่เป็นข้อมูลอ่อนไหว โดยเป็นข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนบุคคลอย่างแท้จริง เป็นข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนสูงและมีความเสี่ยงที่จะถูกนำไปใช้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่ไม่ดี หรือการได้รับการเลือกปฏิบัติ ข้อมูลอ่อนไหวถือว่าเป็นข้อมูลที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินการ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • รหัสผ่านและข้อมูลด้านการเงิน
  • ข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์
  • ความเชื่อและความศรัทธาในลัทธิ ศาสนา
  • รสนิยมและพฤติกรรมทางเพศ
  • ความคิดเห็นและแนวคิดด้านการเมือง
  • ประวัติอาชญากรรม
  • ข้อมูลการรักษาและสุขภาพจิต
  • ข้อมูลด้านชีวภาพและพันธุกรรม
  • ข้อมูลที่เกี่ยวกับสหภาพแรงงาน

 

ข้อมูลส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง

ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล

แล้วข้อมูลชนิดใดบ้างที่ไม่นับว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล โดยจะเป็นข้อมูลที่ไม่ได้มีความละเอียดอ่อน และแสดงถึงตัวตนที่ชัดเจนเกี่ยวกับเจ้าของข้อมูล เป็นข้อมูลที่สามารถตรวจสอบได้ในระบบสาธารณะ ยกตัวอย่างเช่น เลขทะเบียนบริษัท ข้อมูลแฝง หรือ ข้อมูลนิรนาม ที่จะเป็นข้อมูลที่มีการจัดทำขึ้นมา ผ่านทางเทคนิคเพื่อไม่ให้ระบุตัวตนของผู้ใช้งานได้ ข้อมูลของผู้เสียชีวิต และข้อมูลสำหรับการติดต่อสื่อสารด้านธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น เบอร์โทรศัพท์ของบริษัท ที่อยู่สำนักงาน อีเมลองค์กร เป็นต้น

 

รู้จักสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

การบังคับใช้ ของกฏหมาย PDPA ทำให้เจ้าของข้อมูลและองค์กรจะต้องใส่ใจเกี่ยวกับ  สิทธิข้อมูลส่วนบุคคล มากยิ่งขึ้น โดยสิทธิของเจ้าของข้อมูลถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการใช้งาน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่กำลังจะใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 โดยเจ้าของจะมีสิทธิที่พึงได้รับ ดังต่อไปนี้

  1. สิทธิในการรับแจ้ง : เจ้าของข้อมูลจะต้องได้รับวัตถุประสงค์รายละเอียดต่างๆ ผ่านการแจ้งเตือนเพื่อเก็บข้อมูลดังกล่าวรวมถึงการเปิดเผยข้อมูลของบุคคล
  2. สิทธิในการแก้ไขข้อมูล : เจ้าของข้อมูลสามารถเรียกร้องเพื่อแก้ไขข้อมูลส่วนตัวให้เป็นไปอย่างถูกต้องและอยู่ในสถานะที่เป็นปัจจุบัน
  3. สิทธิยกเลิกความยินยอม : เจ้าของข้อมูลสามารถเพิกถอนและยกเลิกการยินยอมให้ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้
  4. สิทธิในการขอระงับการใช้ข้อมูล : เจ้าของข้อมูลสามารถเรียกร้องให้ผู้ใช้ข้อมูล หรือผู้ควบคุมหยุดการใช้ข้อมูลดังกล่าว
  5. สิทธิในการเข้าถึงและให้เปิดเผยที่มาของข้อมูล – เจ้าของข้อมูลสามารถที่จะขอสิทธิในการเข้าถึงพร้อมขอที่มาในการได้มา
    ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว
  6. สิทธิในการโอนย้ายข้อมูล : เจ้าของข้อมูลสามารถที่จะได้รับสิทธิในการโอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลได้
  7. สิทธิในการลบและทำลายข้อมูล : เจ้าของข้อมูลสามารถใช้สิทธิในการหยุดการใช้งานทำลายและลบข้อมูลต่อผู้ควบคุมได้
  8. สิทธิในการเปิดเผยข้อมูล : เจ้าของข้อมูลสามารถหยุดหรือคัดค้านในการเปิดเผยใช้งานและเก็บรวบรวมข้อมูล
  9. สิทธิในการร้องเรียน : เจ้าของข้อมูลสามารถร้องเรียนผู้ควบคุมและผู้ใช้ข้อมูลได้โดยตรงกับทางเจ้าหน้าที่ PDPA

 

บทส่งท้าย

ข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจและแน่นอนก็มีความสำคัญมากสำหรับเจ้าของข้อมูลที่เป็นเจ้าของสิทธิโดยเฉพาะ ดังนั้น การเตรียมความพร้อมและศึกษาเกี่ยวกับสิทธิของเจ้าของข้อมูล ความหมายของข้อมูลส่วนบุคคล และสิ่งที่เรียกว่าข้อมูลส่วนตัว จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้งาน