สำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นออกแบบงานวิจัยเชิงปริมาณแล้วไม่มั่นใจว่าควรจะเริ่มอย่างไร ลองใช้ 10 ทริคด้านล่างนี้ เพื่อเป็นเช็คลิสต์ในการออกแบบการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณให้ได้ผลลัทธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
1. เริ่มต้นด้วยคำถามการวิจัยที่ชัดเจน
การกำหนดปัญหาถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการทำวิจัย หากคำถามไม่ชัดเจนจะทำให้งานวิจัยที่ออกมาดูลอย ๆ ไม่สามารถใช้อ้างอิงอะไรได้เท่าไหร่ นอกจากความชัดเจนแล้วต้องให้มั่นใจด้วยว่าด้วยคำถามที่ต้องการคำตอบของเรานั้นสามารถค้นหาคำตอบได้ด้วยการใช้การวิจัยเชิงปริมาณ
2. ระบุตัวแปร
กำหนดตัวแปรที่ต้องการศึกษาและกำหนดตัวแปรให้ชัดเจน สิ่งนี้จะช่วยให้คุณพัฒนาสมมติฐานที่ชัดเจนและพิจารณาการวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสมที่จะใช้ได้ง่ายขึ้น
3. เลือกวิธีการสุ่มตัวอย่าง
เนื่องจากเราคงไม่สามารถสอบถามทุกคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเราให้มาอยู่ในกรอบการวิจัยของเราได้ ดังนั้นในทุก ๆ งานวิจัยจึงต้องมีการเลือกเฟ้นกลุ่มตัวอย่าง หรือกลุ่มประชากรที่สามารถเป็นตัวแทนหรือเป็นกระบอกเสียงแทนกลุ่มเป้าหมายได้
โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัยนั้นมีหลากหลาย การเลือกวิธีสุ่มตัวอย่างให้แม่นยำ ตรงกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด จะช่วยให้เข้าในพฤติกรรมของกลุ่มคนที่คุณกำลังทำการวิจัยหรือกำลังศึกษาอยู่ได้อย่างแม่นยำ
4. เลือกการออกแบบการวิจัยที่เหมาะสม
กำหนดการออกแบบการวิจัยที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาของคุณ เช่น
– การออกแบบภาคตัดขวาง(Cross-sectional) ที่ทำการวิจัยในกลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษาในเวลาเดียวกัน
– แนวยาว (Longitudinal) เป็นการออกแบบการวิจัยที่ทำการศึกษาอย่างต่อเนื่องในกลุ่มตัวอย่างเดิม
– กึ่งทดลอง (Quasi-experimental) ออกแบบการวิจัยให้เสมือนทำการทดลองในสถานที่จริง
5. พัฒนาเครื่องมือวิจัยของคุณ
สร้างแบบสอบถาม แบบสำรวจ หรือเครื่องมือวิจัยอื่นๆ ที่วัดตัวแปรที่คุณต้องการศึกษา ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่องมือของคุณถูกต้องและเชื่อถือได้
6. ทดลองเครื่องมือของคุณ
ทดสอบเครื่องมือวิจัยของคุณกับผู้เข้าร่วมกลุ่มเล็กๆ เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องมือนั้นชัดเจน เข้าใจได้ และวัดผลตามที่คุณต้องการ
7. รวบรวมข้อมูลของคุณ
เลือกวิธีการรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสมกับจุดประสงค์ของงานวิจัย โดยสามารถเลือกวิธีการรวบรวมข้อมูลได้ตั้งแต่ การจัดทำแบบสำรวจผ่านช่องทางออนไลน์ แบบสำรวจแบบเดินแจก การสัมภาษณ์ทางออนไลน์ การสัมภาษณ์แบบเจอตัว การทำสัมภาษณ์แบบกลุ่มหรือ Focus Group เป็นต้น
8. วิเคราะห์ข้อมูลของคุณ
เลือกเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะกับข้อมูลที่ได้มาและความถนัดของแต่ละบุคคล ในบางแบบสำรวจนั้นอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางสถิติมากมายในการวิเคราะห์ ใช้แค่ Excel ก็เพียงพอ และต้องใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา อาทิ t-test, one-way ANOVA, regression เป็นต้น
9. ตีความผลลัพธ์ของคุณ
ตีความผลลัพธ์เป็นการสรุปงานวิจัยว่าเราได้ข้อมูลอะไรจากการศึกษางานวิจัยในครั้งนี้บ้าง มีข้อจำกัดอะไร มีสิ่งไหนที่น่าสนใจนำไปวิจัยต่อ รวมทั้งอะไรที่สามารถต่อยอดได้ สิ่งสำคัญของการตีความผลลัทธ์คือใช้ข้อมูลทางสถิติที่ได้มาสนับสนุนข้อสรุป หลีกเลี่ยงการสรุปโดยเอาข้อมูลที่ไม่มีอยู่ในงานวิจัยนี้มาพูด
10. สื่อสารให้ทีม
แม้ว่าขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยนั้นจะสำคัญ แต่การนำเสนอสิ่งที่คุณค้นพบแล้วสื่อสารออกไปให้ทีมงานหรือผู้เกี่ยวข้องเข้าใจนั้นมีความสำคัญแทบจะเทียบเท่ากัน การใช้ตาราง กราฟ และ infographic ต่าง ๆ จะช่วยให้คุณสามารถนำเสนอข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยได้ง่ายยิ่งขึ้น
ทั้ง 10 เคล็ดลับนี้สามารถเป็นทั้งจุดเริ่มต้น และเช็คลิสต์ในการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อให้งานวิจัยที่จัดทำนั้นตรงตามความต้องการ ได้ข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ รวมทั้งย่นระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณให้เหมาะสมที่สุด
องค์กรใดต้องการผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาในการวางแผนการวิจัยตลาดหรือวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคติดต่อมาได้ที่ admins@gotitz.com