หากเราสามารถรู้ และเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของสินค้าหรือบริการของเราได้เป็นอย่างดีแล้วนั้น จะทำให้สามารถออกแบบข้อความ กราฟิก เพื่อสื่อสารกับลูกค้าได้ตรงจุด และสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้
ซึ่งการเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคนั้นสามารถทำได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็น
- การทำ Focus Group
- การทำ Customer Observation
- การทำ Survey
แน่นอนว่าการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคตามรายการด้านบนนั้นมีค่าใช้จ่าย แต่ถ้าเราเป็นบริษัทเล็ก ๆ ที่ต้องการเข้าใจลูกค้าล่ะ จะเริ่มอย่างไรให้ได้ข้อมูลเพื่อนำไปเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้าง persona หรือแบบจำลองของกลุ่มลูกค้า
ขั้นตอนการทำวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค
GOT ITZ ขอนำเสนอขั้นตอนในการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้เพื่อได้ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคไปต่อยอดได้อย่างฟรี ๆ โดยเริ่มจาก
1. กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย
สิ่งที่สำคัญที่สุดของการทำวิจัยคือ คุณกำลังต้องการรู้เรื่องอะไร ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมในภาพรวม พฤติกรรมเฉพาะกลุ่ม หรือพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าที่เราตั้งเป้าหมายไว้ เมื่อรู้จุดประสงค์ชัดเจนแล้วให้กำหนดไว้ เพื่อให้ได้ผลงานวิจัยตามความต้องการจริง ๆ ไม่ออกนอกลู่นอกทางมากเกินไป
2. ระบุแหล่งที่มาของข้อมูล
ทำเป็นเช็คลิสต์ว่าข้อมูลที่น่าจะสามารถหาได้จากออนไลน์มีช่องทางไหนบ้าง อาทิ
– ข้อมูลจากรายงานวิจัยของธนาคารต่าง ๆ
– ข้อมูลสถิติของประเทศที่สามารถหาได้ตามเว็บไซต์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
– ข้อมูลการเครื่องมือออนไลน์
– ข้อมูลจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย
– ข้อมูลจากเว็บบอร์ดออนไลน์
3. ทบทวนวรรณกรรม
คำนี้เป็นศัพท์ที่อาจจะแปลกตาสำหรับคนที่ไม่เคยทำงานวิจัย แต่เป็นศัพท์เฉพาะซึ่งหมายถึงการสำรวจงานวิจัยอื่น ๆ ที่เคยมีคนทำมาแล้ว หรือรายงานต่าง ๆ ที่มีคนทำในหัวข้อใกล้เคียงกัน
ในการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคเบื้องต้นหรือการทบทวนวรรณกรรม ผู้ประกอบจะได้ข้อมูลบ้างส่วนที่ช่วยในการเริ่มต้นทำแผนการตลาด หรือแผนสื่อสาร ซึ่งถ้าข้อมูลเพียงพออาจจะหยุดการทำวิจัยเพียงเท่านี้ เพื่อประหยัดเวลา และควบคุมงบประมาณ แต่หากมองแล้วว่าข้อมูลที่ได้มาไม่มากเพียงพอ ก็สามารถออกแบบงานวิจัยเฉพาะในแบบที่คุณต้องการในขั้นตอนที่ 4
4. ออกแบบงานวิจัย
เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ คุณจะเริ่มเห็นภาพพฤติกรรมผู้บริโภคในกลุ่มลูกค้าของคุณคราว ๆ แล้วว่าเป็นอย่างไรบ้างเพื่อนำมาออกแบบงานวิจัยให้ลึกขึ้น ให้ได้ข้อมูลเฉพาะมากขึ้น เพื่อสามารถนำไปใช้วางแผนได้อย่างแม่นยำ
ในการออกแบบงานวิจัยนั้นต้องมีการกำหนดว่าจะใช้วิธีใดในการได้ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการทำแบบสำรวจ การสัมภาษณ์ หรือการทำ Focus group เพื่อให้ได้ข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคในเชิงลึกต่อไป
5. วิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อคุณรวบรวมข้อมูลแล้ว ต้องนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือทางสถิติสำหรับงานวิจัยเชิงปริมาณ และใช้เทคนิควิเคราะห์ที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัยเชิงคุณภาพ
6. สรุปผลและให้คำแนะนำ
ขั้นตอนสุดท้ายในการทำวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคก็คือการสรุป และให้คำแนะนำ โดยต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ใช้กราฟที่เกี่ยวข้องในการอธิบายเพื่อให้คนฟังสามารถเข้าใจได้ง่ายที่สุด
เมื่อได้ข้อมูลสรุปจากการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคแล้ว ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของนักการตลาดหรือเจ้าของกิจการที่จะกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด แนวทางการสื่อสาร จากงานวิจัยที่จัดทำ เพื่อให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในส่วนหนึ่งในชีวิตของลูกค้าได้อย่างเนียนที่สุด
หากผู้ประกอบการท่านใดต้องการทำวิจัยผู้บริโภคในกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ หรือต้องการที่ปรึกษาในการทำวิจัยการตลาด สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ admins@gotitz.com