อยากเปลี่ยนแผนธุรกิจให้ก้าวสู่ยุค Digital Transformation จะต้องเริ่มจากอะไร ศึกษาข้อมูลด้านไหนเพิ่มบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
ทุกวันนี้เราต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสิ่งต่าง ๆ อย่างก้าวกระโดด ไม่เพียงแค่มาอย่างรวดเร็วเท่านั้น การเปลี่ยนนั้นยังมีความสลับซับซ้อน นำมาซึ่งการเชื่อมโยงแบบไร้พรมแดน ไร้ข้อจำกัดด้านเวลา และยังเชื่อมถึงกันได้หลากหลายมิติ เช่น ระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและความมั่นคง จิตวิทยาพฤติกรรมมนุษย์ ฯ สร้างความท้าทายให้แก่การเรียนรู้อย่างไม่หยุดยั้ง
การมีเทคโนโลยีที่รองรับ Digital Transformation ก็จะทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ เป็นเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ มีอาชีพใหม่ที่พัฒนาเศรฐกิจและเพิ่มช่องทางในการสร้างกำไรทางทำธุรกิจ ลดการเหลื่อมล้ำของรายได้ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น การปรับตัวก่อนที่ธุรกิจจะถูกดิสรัปต์ได้ด้วยการทำ Digital Transformation นอกจากจะเป็นการเตรียมความพร้อมแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ และถ้าอยากเปลี่ยนแผนธุรกิจให้ก้าวสู่ยุค Digital Transformation จะต้องเริ่มจากอะไร ศึกษาข้อมูลด้านไหนเพิ่มบ้าง มาดูกันค่ะ
Digital Transformation
คือการนำเทคโนโลยีและการวางกลยุทธ์ดิจิทัลเข้ามาปรับเปลี่ยนกระบวนการภายในขององค์กรในทุกระดับ เทคโนโลยีและดิจิทัลนํามาใช้ในการทำ Digital Transformation เพราะจะช่วยเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพ ในกระบวนการทำงาน การผลิต ไปจนกระทั่งการส่งมอบผลงานและสร้างความพึงพอใจต่อลูกค้า
การทำ Digital Transformation
จะเกี่ยวพันอยู่ 3 สิ่ง คือ
- บุคลากร เช่น การ Upskill/Reskill
- กระบวนการ เช่น กระบวนการคิดเชิงออกแบบ หรือ Design Thinking
- เทคโนโลยี เช่น คลาวด์คอมพิวติ้ง AI เป็นต้น
พัฒนาบุคลากรให้ก้าวทันเทคโนโลยี
ความท้าทายของแผนธุรกิจเพื่อก้าวสู่ Digital Transformation แม้ว่าผู้บริหาร จะเป็นผู้นำทัพปรับองค์กรหรือนำธุรกิจไปสู่ Digital Transformation โดยเน้นให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีก็จริง แต่ความท้าทายไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยี แต่สำคัญยิ่งกว่าคือการพัฒนาบุคลากร ให้ก้าวตามเทคโนโลยีที่เกิดใหม่ให้ทัน เพราะหากจะเปลี่ยนจากงาน Manual มาใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพลิกฝ่ามือ จะส่งผลกระทบต่อคนทำงานอยู่ไม่น้อย ต้องสร้างความเข้าใจและสร้าง Mindset ที่ดีให้แก่พนักงาน สื่อสารอย่างชัดเจน ว่าการเปลี่ยนครั้งนี้ เพื่อความอยู่รอดของทุกคน รวมถึงอาจเปิดโอกาสให้พนักงานสอบถามเพื่อลดความกังวลลงและยังเป็นโอกาสในการสะท้อนถึงแนวคิดใหม่ด้วย
อาจจะสรุปได้ว่าผู้นำจะต้องสื่อสารทำความเข้าใจ เปิดกว้างรับฟัง ทำให้บุคลากรสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้และไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลดีต่อองค์กร
มองกลับด้านด้วย Customer Centric
จุดหมายปลายทางของการนำธุรกิจไปสู่ Digital Transformation คือเพื่อกำไรจากการค้าขาย และหนึ่งในหัวใจหลักของกำไรนั้นมาจากลูกค้า ดังนั้น การนึกถึงประสบการณ์ดี ๆ ที่ลูกค้าจะได้รับ หรือเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกค้ากับธุรกิจของคุณ การปรับมุมมองแบบ outside in สิ่งนี้จะมาช่วยกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนได้ ด้วยการคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ตัวอย่างเช่น เนื่องจากสังคมมีการปรับเปลี่ยนจากคนยุคเจนเนอเรชัน X มาสู่คนในเจนเนอเรชัน Y และ Z มีจำนวนมากขึ้น พฤติกรรมและการคาดหวัง ในการได้รับการบริการก็ปรับเปลี่ยนรูปแบบไป เช่น ต้องการข้อมูลแบบรวดเร็ว ตัดสินใจซื้อผ่านการหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การอ่านรีวิว ฯ
ดังนั้น การศึกษาเพื่อให้รู้ลึกถึงพฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer behavior) กลุ่มลูกค้าเจน Y และ Z จะทำให้การเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลเป็นตัวช่วยในการแชร์ประสบการณ์ และการส่งมอบบริการต่าง ๆ ได้ดีกว่า เช่น การให้บริหารผ่านแพลตฟอร์ม ที่สามารถเป็นได้มากกว่าแค่การขายสินค้า แต่ต้องเน้นที่การให้ข้อมูลอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา และต้องมีการดูแลหลังการขาย เพื่อรักษาลูกค้าเจนใหม่นี้ ที่พวกเขาสามารถเลือกซื้อสินค้าและบริการจากร้านอื่น ๆ ได้ตลอดเวลาหากมีข้อเสนอที่ดีกว่า เป็นต้น
กระบวนการในการเปลี่ยนแปลงองค์กร
กระบวนการในเปลี่ยนแปลงองค์กรหรือธุรกิจให้ก้าวไปสู่ Digital Transformation จะต้องลิสต์สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงออกมาให้ชัดเจน หรือดึง pain point ที่สุดออกมา และจะสร้างกระบวนการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ด้วยวิธีใด เช่น กระบวนการ Design Thinking การออกแบบความคิด เพื่อสร้างความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
กระบวนการ Design Thinking
มี 4 ขั้นตอน คือ
- Discover ทำความเข้าใจลูกค้า เพื่อคลี่ปมปัญหาออกมา
- Define กำหนดและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และจะแก้ไขอะไรก่อนหลัง
- Develop หาและพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหา
- Deliver นำแนวทางนั้นไปใช้จริง
หรือการนำ AI มาใช้ในการวิเคราะห์กระบวนการภายในหรือเพื่อเพิ่มความคล่องตัว เพิ่มประสิทธิผลในการทำงานหรือเลือกใช้ Dashboard เพื่อมอนิเตอร์การส่งมอบผลงาน เป็นต้น หรือ Positive Mindset ในการทำงานไม่ยึดติดกับความสำเร็จในอดีต กล้าที่จะก้าวข้าม Comfort Zone ไม่กลัวความล้มเหลวทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ปัญหา ไม่มองว่านี่คือข้อผิดพลาดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือคนใดคนหนึ่ง ที่สำคัญคือความร่วมใจในการแก้ปัญหา พลิกวิกฤตนั้นให้เป็นโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานหรือเกิดกระบวนการที่สร้างสรรค์
รวมถึงกระบวนการทำงานแบบ Agile Management ที่เป็นกระบวนการทำงานที่มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อให้ตัดสินและดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว มุ่งเน้นไปที่การแยกงานออกเป็นเหตุการณ์สำคัญโดยเริ่มในจุดที่ที่เล็กกว่าและง่ายต่อการพิชิตเป้าหมาย การแยกงานนี้ยังดีตรงที่ตรวจสอบง่ายขึ้นเนื่องจากการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วกระบวนการทำงานจึงต้องกระชับ เน้นการทำงานที่ต้องปรับให้เหมาะสมได้ตลอดเวลา จึงต้องอาศัยความไม่ยึดติดกับระบบระเบียบ หรือมีลำดับชั้นในการสั่งการน้อย กระบวนการทำงานแบบ Agile Management จึงมีส่วนที่เข้ามาช่วยให้แผนธุรกิจก้าวสู่ยุค Digital Transformation ได้แบบทันต่อเวลาและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
เทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้
เลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างขีดความสามารถใหม่ เพราะการ Digital Transformation เป็นการใช้กลยุทธ์และดิจิทัลในการดำเนินธุรกิจเพื่อเปลี่ยนจากรูปแบบเดิมไปสู่รูปแบบใหม่ หรือใช้นวัตกรรมมาเป็นเครื่องมือในการเพิ่มผลประกอบการ โดยใช้เทคโนโลยีที่มีความแม่นยำกว่ามนุษย์มาบริหารเข้ามาช่วยจัดการ และทำให้ธุรกิจคุณขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ
โดยดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการขยายขีดความสามารถใหม่ให้ธุรกิจ เช่น ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ หรือ Robotic Process Automation, AR/VR/MR, Mobile Application, Web Application SaaS หรือเลือกใช้ Software solution ต่างๆ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กถึงกลาง เทคโนโลยีที่เลือกใช้ อาจไม่จำเป็นต้องอัตโนมัติสมบูรณ์แบบ หรือต้องบริหารจัดการเองทั้งหมด อาทิทใช้ Software solution ของ google ที่มีลักษณะเป็นออนไลน์เช่น เลือกใช้ cloud storage แทนที่จะตั้ง server เอง หรือการเลือกใช้ SaaS หรือ Software as a service แทนการพัฒนาซอฟต์แวร์เองทั้งหมด หรือค่ายอื่น เช่น เลือกเก็บข้อมูลบน Dropbox ระบบเก็บข้อมูลรูปแบบออนไลน์
การนำธุรกิจหรือองค์กร ไปสู่ Digital Transformation เป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจ การสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากร การเลือกใช้กระบวนการที่สร้างสรรค์ และใช้เทคโนโลยี เพื่อสร้างเสริมศักยภาพให้ธุรกิจจะเป็นสิ่งแรก ๆ ที่ต้องเริ่มลงมือ ไม่ใช่แค่เปลี่ยนเพื่อให้ทันกับเทคโนโลยี แต่การปรับเปลี่ยนนี้ยังเป็นการเปลี่ยนเพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ทั้งกับองค์กรและลูกค้า รวมถึงเปลี่ยนเพื่อความยั่งยืนของบุคลากร และเข้าถึงลูกค้าทั้งเก่าและใหม่ของคุณ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จึงถือว่าคุ้มค่า
ฟังบทความแบบ podcast ได้ที่นี่