การวิจัยเชิงปริมาณเป็น 1 ใน 2 วิธีการวิจัยที่คนมักนำมาใช้ โดยการวิจัยเชิงปริมาณนั้นเหมาะสำหรับ
- คำถามการวิจัยที่ต้องการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
- สร้างความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล
- ตรวจสอบความถี่ของปรากฏการณ์บางอย่างในกลุ่มประชากรที่ศึกษา
- คำถามการวิจัยที่ต้องการการวัดข้อมูลเป็นตัวเลข เช่น อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก หรือคะแนนสอบ

งานวิจัยเชิงปริมาณเหมาะกับ
การวิจัยเชิงปริมาณมักใช้ในสาขาต่างๆ เช่น จิตวิทยา สังคมวิทยา การศึกษา และวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อวัดทัศนคติ พฤติกรรม และผลลัพธ์ ตัวอย่างเช่น การศึกษาเชิงปริมาณอาจตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแทรกแซงบางอย่าง (เช่น วิธีการสอนแบบใหม่) กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หรือความซุกของการใช้งานอินเตอร์เน็ตของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

งานวิจัยเชิงปริมาณกับการทดลอง
การวิจัยเชิงปริมาณยังมีประโยชน์สำหรับการดำเนินการทดลอง โดยสามารถออกแบบงานวิจัยสำหรับทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งตัวหรือหลายตัวแปร ที่เป็นลักษณะตัวเลข และวัดผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในกรณีเหล่านี้ ผู้วิจัยสามารถใช้การวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อพิจารณาว่าความแตกต่างที่สังเกตได้ระหว่างกลุ่มเกิดจากความบังเอิญหรือมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปแล้ว การวิจัยเชิงปริมาณนั้นเเหมาะสำหรับงานที่เป็นตัวเลข หาความถี่ ความบ่อย ความซุกที่เกิดขึ้น และสามารถนำตัวเลขเหล่านั้นมาใช้วิเคราะห์โดยเครื่องมือทางสถิติได้