Privacy Policy ควรบอกอะไรกับเจ้าของข้อมูลบ้าง ต้องเช็กให้ครบก่อนโดนฟ้อง ยิ่งโลกดิจิทัลมีอิสระมากเท่าไหร่ การควบคุม Personal Data ก็เป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังเอาไว้ให้มากเช่นเดียวกัน ในปัจจุบันผู้คนสามารถเชื่อมต่อและสื่อสารกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ข้อมูลต่างๆ จากการใช้บริการแพลตฟอร์ม เว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่นกลายมาเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญต่อองค์กรและการทำธุรกิจ เพื่อที่จะนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นในทุกแผนการทำธุรกิจการจัดการในองค์กรจึงล้วนต้องมีฐานข้อมูลมาเกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านั้นล้วนเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องมีการควบคุมและรักษาสิทธิอย่างถูกต้อง จึงเป็นที่มาของกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล รวมถึงสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในกระบวนการนี้ อย่าง Privacy Policy ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการกฎหมาย PDPA

 

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA

เพื่อการรักษาข้อมูลส่วนตัว หรือ Personal Data ของเจ้าของให้ปลอดภัยและอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมโดยได้รับการยินยอมจากเจ้าของ จึงทำให้กฎหมาย PDPA ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อควบคุมและสร้างมาตรฐานที่ถูกต้องสำหรับการจัดเก็บและใช้งานข้อมูล โดย PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act เป็นกฎหมายสำหรับควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีจุดประสงค์หลักในการห้ามจัดเก็บ รวบรวมหรือใช้งาน รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูล เพื่อที่จะป้องกันการนำข้อมูลไปใช้สร้างความเสียหาย หรือทำความเดือดร้อนให้แก่เจ้าของข้อมูล เป็นการป้องกันการละเมิดความเป็นส่วนตัว

 

โดยในประเทศไทยกฎหมาย PDPA จะถูกบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 หลังจากที่ได้ถูกเลื่อนมาในปี 2564 โดยครั้งนี้จะเป็นการประกาศการใช้อย่างเต็มรูปแบบและเป็นทางการ จึงทำให้องค์กรต่างๆ ต้องศึกษาเกี่ยวกับรายละเอียดให้ครบถ้วน

Personal Data คืออะไร?

Personal Data คือ ข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลที่สามารถสื่อถึง ระบุ และแสดงตัวตนของบุคคลนั้นๆ ได้ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลที่สามารถแสดงลักษณะเฉพาะ และตัวตน รายละเอียดต่างๆ ที่เป็นเรื่องส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล โดยข้อมูลส่วนบุคคล จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป โดยมีรายละเอียด ข้อมูลส่วนบุคคล –ตัวอย่าง– ดังต่อไปนี้
  • ข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Personal Data แบบพื้นฐาน ยกตัวอย่างเช่น ชื่อ – นามสกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ อาชีพและอื่นๆ
  1. ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว หรือ Sensitive Personal Data เป็นข้อมูลส่วนตัวที่มีความละเอียดอ่อน และมีความเสี่ยงในการสร้างผลกระทบให้แก่เจ้าของข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลด้านเชื้อชาติ และเผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมืองรสนิยม และพฤติกรรมทางเพศ ข้อมูลทางการแพทย์ เป็นต้น

Privacy Policy ควรบอกอะไรกับเจ้าของข้อมูลบ้าง

รู้จัก Privacy Policy

สิ่งสำคัญในการมาถึงของกฎหมาย PDPA ที่ผู้ควบคุม หรือเจ้าของแพลตฟอร์ม เว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่นจะต้องศึกษาอย่างละเอียด ก็คือ Privacy Policy หรือ นโยบายความเป็นส่วนตัว ที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยกันดี ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ที่มักจะมีการแจ้งเตือนขึ้นมา

โดย นโยบาย Privacy Policy เป็นนโยบายที่จัดทำขึ้นสำหรับการแจ้งรายละเอียดแก่เจ้าของข้อมูลที่เข้ามาใช้งานถึงความเป็นมา วัตถุประสงค์ และรายละเอียดในด้านต่างๆ โดยจะเป็นการแจ้งเพื่อขอความยินยอมในการเข้าถึงข้อมูลจากหน้าเว็บไซต์ ซึ่งตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ กฎหมาย PDPA ทางองค์กร หรือเจ้าของเว็บไซต์ แพลตฟอร์ม และแอปพลิเคชั่นต่างๆ จะต้องมีการจัดทำฟอร์ม Privacy Policy ขึ้น เพื่อขอความยินยอมและแจ้งรายละเอียดในการจัดเก็บข้อมูล

 

Privacy Policy ควรบอกอะไรกับเจ้าของข้อมูลบ้าง

Privacy Policy ควรบอกอะไรกับเจ้าของข้อมูลบ้าง เรื่องนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นเอกสารที่แสดงถึงความมั่นคงและน่าเชื่อถือขององค์กรแล้ว ยังต้องมีการระบุให้ครบถ้วนในแบบฟอร์มแจ้ง Privacy Policy อีกด้วย โดยข้อมูลที่จะต้องแสดง ภายในนโยบายความเป็นส่วนตัว ได้แก่

  • แถลงนโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ความหมายของข้อมูลความเป็นส่วนตัว
  • รายละเอียดของนโยบายความเป็นส่วนตัว
  • โทษของนโนบายความเป็นส่วนตัว
  • วัตถุประสงค์ในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
  • วิธีและขั้นตอนในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล
  • มาตรการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคล
  • รายละเอียดในการเปิดเผยแก่บุคคลที่ 3
  • ผู้ควบคุมและผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมข้อมูล

 

บทลงโทษหากละเมิดกฎหมาย PDPA

กฎหมาย PDPA เป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ตามกฎหมายที่จะมีบทลงโทษทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง โดยมีการปรับสูงสุดถึง 5,000,000 บาท และในทางอาญาถ้าหากมีการเปิดเผยข้อมูลที่ทำให้เจ้าของข้อมูลได้รับความเสียหาย ดูหมิ่นและเกลียดชังโดยไม่ได้ยินยอม จะมีโทษจำคุก 6 เดือน ปรับสูงสุด 500,000 บาท และถ้าหากผู้ควบคุมนำข้อมูลไปใช้งานเพื่อผลประโยชน์โดยไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของกฏหมาย มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับสูงสุด 500,000 บาท

 

บทส่งท้าย

Personal Data คือเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเข้าสู่ยุคดิจิทัล กฎหมาย PDPA จะเข้ามาคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว และ Privacy Policy ก็เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทุกองค์กรที่มีแอปพลิเคชั่น แพลตฟอร์มและเว็บไซต์ จะต้องจัดเตรียมให้พร้อม โดยแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวที่ครบถ้วนและถูกต้องเป็นไปตามาตรฐานที่ทางกฎหมายควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ระบุเอาไว้อย่างชัดเจน

เรียกได้ว่า Privacy Policyเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจอย่างละเอียด ผ่านการดูแล และแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความเข้าใจในกฏหมายข้อนี้เป็นอย่างดี และนี่ก็เป็นข้อควรรู้เกี่ยวกับ Privacy Policy และข้อมูลความเป็นส่วนตัวที่ผู้ควบคุมจะต้องบอกแก่เจ้าของข้อมูล