ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในทุกธุรกิจ แพลตฟอร์มที่สามารถทำการซื้อขาย เป็นช่องทางและเครื่องมือสำคัญที่สร้างความเชื่อมโยงระหว่างลูกค้ากับธุรกิจ ปัจจุบันไม่ว่าธุรกิจจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ นิยมใช้เว็บไซต์สื่อกลางการติดต่อซื้อขาย หรือ Marketplace เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และยังสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
เมื่อโลกต้องมาพบเจอกับการแพร่ของโรคระบาด พฤติกรรมของผู้บริโภคจึงเปลี่ยนไปแทบจะสิ้นเชิง การซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มจะมีความสะดวกสบายกว่า รวดเร็วกว่า ความปลอดภัยกว่า และมั่นใจว่าได้สินค้าแน่นอนกว่า
ที่สำคัญไร้ข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ ธุรกิจจึงต้องปรับตัว และเลือกใช้แพลตฟอร์ม Marketplace เข้ามาบริหารการขาย โดยตัวอย่าง marketplace ชื่อคุ้นหู เช่น Amazon, eBay, Facebook, Instagram, Lazada, Shopee, JD Central, Line, Grab ฯลฯ
เหล่านี้คือแพลตฟอร์ม marketplace ที่ถือว่า เป็นส่วนสนับสนุนการค้าขาย และธุรกรรมออนไลน์ที่เจ้าของธุรกิจต่าง ๆ นิยมใช้ และแม้ว่าจะมีเป้าหมายเดียวกัน คืออำนวยความสะดวกระหว่างลูกค้ากับเจ้าของธุรกิจ เจ้าของกิจการในการซื้อขายระหว่างกัน แต่รูปแบบการดำเนินงาน ก็ใช่จะเหมือนกันเสียทั้งหมด บางแบรนด์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย อาทิ Big Data ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality Technology: VR) เป็นต้น
นอกจาก marketplace ที่คุ้นเคย ที่ได้กล่าวไปไว้เมื่อครู่แล้ว บทความของเราในวันนี้จะมาแนะนำ 7 ช่องทางการตลาด มาแรง เพื่อให้คุณนำไปเป็นไอเดีย ในการเพิ่มช่องทางการตลาดสร้างมูลค่าการซื้อขายกัน
1. TikTok VDO Marketing กับจุดเด่นอยู่ที่วิดีโอสั้น
จากจำนวนผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 1 พันล้านคน และเป็น social media ที่มียอดการดาวน์โหลดสูงสุด โดยนับรวมจากทั่วโลกในปีที่ผ่านมา ทำให้ TikTok ขึ้นแท่นเป็นแพลตฟอร์ม Social media ที่ครองใจผู้ขายจำนวนมากจากเดิมที่นิยมใช้เพื่อความผ่อนคลาย TikTok ได้กลายมาเป็นช่องทางในการขายสินค้าแบบพลิกฝ่ามือ
ฟีเจอร์สำคัญของ TikTok คือ TikTok For Business ที่ตอบโจทย์สำหรับธุรกิจทุกขนาดตั้งแต่เล็ก – กลาง อย่าง SMEs หรือองค์กรขนาดใหญ่ก็เริ่มเข้ามาใช้ TikTok ในการทำการตลาดแล้ว
จุดเด่นของ TikTok
คือการอัดคลิป VDO สั้น ๆ เพื่อนำเสนอสินค้าของคุณ นอกจากจะเป็นการดึงไม้เด็ดในเชิงความคิดสร้างสรรค์ผ่านการนำเสนอที่โดนใจแล้ว คลิป VDO สั้นนี้ยังสามารถดึงดูด และเข้าถึงผู้ใช้งานได้รวดเร็วกว่า และเมื่อบวกเข้ากับการติดแฮชแท็ก หรือเครื่องหมายสี่เหลี่ยมและตามด้วยคีย์เวิร์ด เช่น #เสื้อยืด ยิ่งเพิ่มโอกาสให้ผู้ใช้งานเข้าถึงสินค้าของคุณได้อย่างรวดเร็ว
TikTok นับเป็นแพลตฟอร์มที่เน้นไปในทาง VDO Marketing ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งนี้มีการวิจัยที่พบว่า ผู้คนถึง 86% ชอบที่จะดูคลิป VDO จากแบรนด์สินค้าต่าง ๆ มากกว่าการขายในรูปแบบอื่น ในเว็บไซต์ Forbes ยังบอกว่าคลิป VDO ขายสินค้าสนุก ๆ บน TikTok สามารถสร้างความเชื่อมโยง Engagement) ระหว่างลูกค้ากับธุรกิจได้ดี
2. Pinterest ปักหมุดเพื่อสร้าง Customer Engagement Marketing
Customer Engagement Marketing เป็นกลยุทธ์ที่มากกว่าแค่การขาย ไม่ได้เน้นแต่จะขาย หรือทำยอด แต่กลยุทธ์นี้นุ่มนวลละมุนละไมไปกว่านั้น เพราะเน้นไปที่การสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างธุรกิจคุณกับลูกค้าและยังให้ความสำคัญกับการสร้าง Image หรือภาพลักษณ์ในมุมบวกให้กับลูกค้า จากความประณีตในการขาย ไม่ฮาร์ดคอร์ ไม่วู่วาม จึงอาจเหมาะสำหรับแบรนด์ ที่มีลูกค้าเหนียวแน่นแล้ว หรือเน้นการสร้างความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty)
แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีลูกค้าใหม่ที่ไม่ชอบการเสนอขายแบบประชิดตัว อาจชอบความคลาสสิคในการนำเสนอสินค้า แบบค่อยเป็นค่อยไป แม้จะใช้เวลานาน แต่ถ้ารักแล้ว รักเลยและรักไปตลอด
จุดเด่นของ Pinterest
Pinterest คือแพลตฟอร์มที่ดีในการสร้าง Customer Engagement
3. Facebook ล้ำนำใครด้วยการเชื่อมโลกสองใบได้จริง ๆ
พอดคาสต์นี้ไม่ขอพูดถึง Facebook ในรูปแบบเดิม แต่จะขอพูดถึงการก้าวไปสู่ Metaverse ที่จุดเด่นของแนวคิด Metaverse คือการ “เชื่อมต่อ” กับผู้อื่นได้ทั้งโลกแห่งความเป็นจริงและโลกเสมือน ผ่านแว่น VR และ/หรือ Haptic Gloves
Facebook ในวันนี้ที่จะกลายเป็น Metaverse ในวันข้างหน้า จะสามารถให้ผู้เข้าร่วมใช้ไอเทมเสมือนของตนเองข้ามแพลตฟอร์ม เช่น การยินยอมให้ใช้ยานพาหนะที่ปลดล็อกในเกมแข่งรถไปใช้ในเกมผจญภัยอื่น ๆ หรือเสื้อผ้าที่ซื้อบน Metaverse เพื่อไปใช้ในคอนเสิร์ต หรือเกมที่สภาพแวดล้อมเสมือนจริง
Metaverse จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม เพิ่มเติมตำแหน่งทางการตลาดของคุณในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ข้ามกันไปมาได้อย่างไหลลื่น จึงทำให้เกิดโอกาสในการทำรายได้มากกว่าเดิม
ที่สำคัญคือ ธุรกิจยุค Metaverse จะเชื่อมโยงทุกอย่างเข้าถึงกันอย่างไร้ขีดจำกัด จึงมีความเป็นไปได้ว่าแพลตฟอร์มนี้จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงทั้ง Ecosystem ไม่ว่าจะการตลาด การซื้อการขาย พฤติกรรมผู้บริโภค พฤติกรรมการดำเนินชีวิต เทคโนโลยีใหม่ที่ก้าวล้ำ เช่น ควอนตัมคอมพิวติ้ง (Quantum Computing) FinTech ฯลๆ เหล่านี้จะทำให้ธุรกิจหลอมรวมทุกสิ่งได้อย่างไร้ขีดจำกัด
4. Amazon จุดเด่นที่เป็นแพลตฟอร์ม e-commerce ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ปัจจุบัน Amazon มีคนเข้าเว็บไซต์หลักพันล้านการเข้าชมในแต่ละเดือน ไหนจะยังมีผู้ใช้งานไปแล้วกว่า 180 ประเทศทั่วโลก การที่ธุรกิจคุณจะไปมีตัวตนอยู่ใน Amazon อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยาก เพียงแค่แสดงให้มั่นใจว่าสินค้าคุณมีคนรอซื้อแน่นอน
ทริคคือคุณควรรู้จัก Customer Journey ของลูกค้าในธุรกิจคุณว่ามาจากต่างประเทศหรือเปล่าCustomer journey เป็นการศึกษา ทำความเข้าใจตั้งแต่ขั้นตอนแรก คือ ลูกค้าของคุณมีปฏิสัมพันธ์กับสินค้าของคุณ หรือแบรนด์ของคุณอย่างไร ผ่านช่องทางไหน เมื่อลูกค้ามีการรับรู้ว่าแบรนด์ของคุณมีตัวตน คุณก็สามารถทำการตลาดตามช่องทางเหล่านั้นเพื่อนำไปสู่กระบวนการซื้อขาย ติดใจซื้อซ้ำ บอกต่อ และเกิดความภักดีต่อแบรนด์
การเข้าใจ Customer Journey สัมพันธ์กับการนำของมาขายใน Amazon หากเราทำการวิเคราะห์แล้วว่าลูกค้าที่เรามีอยู่นั้น หรือจากการเข้าชมเว็บไซต์หรือช่องทาง social media ในปัจจุบันนั้น มีสัดส่วนผู้ชมและผู้ซื้อมาจากต่างประเทศ มากพอในการทำการตลาด Amazon เป็น marketplace platform ที่ทำให้ธุรกิจคุณ go inter ได้ง่าย ลงทุนต่ำ และปลอดภัยมากที่สุดช่องทางหนึ่ง
เมื่อเข้าใช้ amazon แล้ว คุณก็ควรจะศึกษาหลังบ้าน หรือ dashboard ของ amazon ให้ดี เพราะจะช่วยให้เข้าใจทราฟฟิกของคนที่มาคลิกดูสินค้าของคุณ Amazon จะแสดงสินค้าที่ยึดจากความสนใจของลูกค้าเป็นสำคัญ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าหนึ่งคนที่เข้ามาดู ดูสินค้าอะไร ช่วงเวลาที่ดู ประวัติการค้นหา การขายบน Amazon คือการเล่นกับ Data แม้จะดูยุ่งยากแต่ยั่งยืน หากลองสังเกตดี ๆ จะพบเลยว่าสินค้าแบรนด์ไทยที่ Unique และมีคุณภาพไปโลดแล่นอยู่ที่ต่างประเทศ ผ่านแพลตฟอร์มนี้เป็นจำนวนมาก
Amazon เหมาะกับสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่อยากไปตีตลาดนอกประเทศ ยิ่งธุรกิจคุณขายสินค้าที่เป็นNich Market ยิ่งเหมาะ
5. Instagram ติด Tag ได้ บอกเล่าสินค้าได้หลายฟอร์แมท
หลายคนคงเห็นด้วยว่าเสน่ห์ของอินสตาแกรมคือลงได้หลายฟอร์แมท ทั้งภาพ VDO แถมด้วยไลฟ์สดก็ยังได้ ด้วยสิ่งเหล่านี้ทำให้อินสตาแกรมรองรับพ่อค้าแม่ค้าหรือธุรกิจต่าง ๆ ได้ในที่เดียว
นอกจากฟอร์แมทอะไรก็ลงได้ในอินสตาแกรมแล้ว แพลตฟอร์มนี้ยังติดและเพิ่ม #tag ที่โพสได้เลย หรือ #tag และพร้อมด้วยคำอธิบายสินค้า ราคา หรือการลิงค์ไปหน้าร้านค้าได้ ทุกอย่างที่อินสตาแกรมออกแบบ นอกเหนือไปจากเสพเพื่อความบันเทิงแล้ว ก็เห็นจะเป็นฟีเจอร์หลักสำหรับคนหาสินค้าด้วยเช่นกัน
สินค้าที่แนะนำสำหรับการทำการตลาดผ่าน Instagram คือสินค้า หรือบริการที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ดูดี หรูหรา ไฮโซ รวมทั้งสินค้าประเภทเครื่องสำอางหรืออาหารเสริม ที่สามารถทำการตลาดผ่าน Instagram influencer ได้อีกทางหนึ่ง
6. ทำเว็บไซต์ให้ติด Google ผ่านการทำ SEO เพื่อดึงลูกค้าเข้ามาเห็นสินค้าของคุณเป็นอันดับแรกๆ
Google จะมี algorithm ในการคัดเลือกเว็บไซต์มาขึ้นแสดงผล ยิ่งเว็บไซต์ไหนเข้าเกณฑ์ของ Google ที่สุด และ Google เห็นว่ามีประโยชน์ต่อคนที่เข้ามาทำการค้นหา เว็บไซต์นั้น ๆ ก็จะเป็นที่โปรดปรานของ Google และจะทำการดึงเว็บไซต์เหล่านั้นไปแสดงผลในหน้า search หน้าแรก SEO จึงเหมือนการเปลี่ยนตำแหน่งร้านค้า จากร้านค้าที่อยู่มุมอับมาเฉิดฉายหน้าทางเข้าห้างที่สามารถทำได้ด้วยการปรับแต่งเว็บไซต์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดและ algorithm
ยิ่งเว็บไซต์แสดงผลในตำแหน่งที่สูงขึ้น อัตราการคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ก็จะยิ่งสูงขึ้นโดยอัตราการคลิกเว็บไซต์ที่อยู่หน้าแรกของ Google อยู่ที่ มากกว่า 80% และหากเว็บไซต์ไหนที่ติด Top 3 ของหน้าแรกแล้วละก็ traffic เข้าไม่หวาดไม่ไหวกันเลยทีเดียว
เมื่อเว็บไซต์ของเรามีโอกาสที่ลูกค้าจะเจอง่ายขึ้นยอมส่งผลให้สินค้าในเว็บไซต์ของเราเป็นตัวเลือกต้นๆ หากลูกค้าต้องการซื้ออย่างแน่นอน การทำ SEO นอกจากจะเป็นการเพิ่มอัตราการเข้าเว็บไซต์ และยอดขายแล้ว ยังเป็นสิ่งแสดงความน่าเชื่อถือต่อสินค้า บริการ และแบรนด์ของคุณได้อีกด้วย
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SEO ได้ที่นี่
SEO คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อธุรกิจในยุค IT
ประโยชน์จากการทำ SEO ที่มีต่อธุรกิจ
7. Airbnb ตอบโจทย์ธุรกิจที่พักแบบ Sharing Economy
ช่องทางสุดท้ายขอเอาใจคนทำเจ้าของห้อง และกลุ่ม hospitality ที่พัก โรงแรมกันหน่อยค่ะ ด้วยแพลตฟอร์ม Airbnb OTA ชื่อดัง ที่ตอบโจทย์ sharing economy ถึงแม้ว่าใน 2 ปีที่ผ่านมาการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศแทบจะหยุดนิ่งจากสถานการณ์ระบาดของโควิท-19 Airbnb ก็เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเช่นกัน ที่นำมาแนะนำในบทความนี้เผื่อสำหรับคนที่สนใจอยากปล่อยห้องรายวันหลังสถาณการณ์ระบาดในปัจจุบันคลี่คลายลง
Airbnb เป็นแพลตฟอร์ท เป็นการรวบรวมห้องพักทั้งในรูปแบบโฮสเทล ห้องเช่า โรงแรม จากผู้ประกอบการทั่วโลกมาไว้ในที่เดียว โดยที่ทาง Airbnb เป็นเพียงแพลตฟอร์มตัวกลางในการซื้อขายไม่ได้เป็นเจ้าของห้องพักเหล่านั้นเลย
Airbnb เริ่มได้รับความนิยมในเหล่านักเดินทางที่ต้องการประสบการณ์ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสถานที่ที่พวกเขาเลือกมาท่องเที่ยว พักผ่อน หรือแม้แต่ทำงานต่างที่ต่างถิ่น
โดยฉพาะการได้พักอยู่ในโฮสเทลนั้นจะเกิดการพูดดุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งได้รับอะไรดีๆกลับไปมากกว่าการพักผ่อนในโรงแรมหากคุณมีที่พักที่ต้องการเปิดให้เข้าพัก หรือต้องการขยายการเข้าถึงของลูกค้า Airbnb คือแพลตฟอร์มที่น่าสนใจ
นอกจากให้เช่าที่พักแล้ว ความได้เปรียบของแพลตฟอร์มนี้อีกอย่างหนึ่งคือ คุณในฐานะเจ้าของโฮสเทลสามารถพาแขกหรือผู้เข้าพักไปเที่ยวได้ตามแต่จะตกลง อาจไม่จำเป็นต้องมีพีธีรีตรอง ในการเสนอขายแบบตามโรงแรมมาตรฐานหลายดาว ทุกอย่างอาจว่าด้วยศาสตร์และศิลป์ของคุณในการนำเสนอ ไม่แน่ว่าการการท่องเที่ยว และพักผ่อนครั้งนี้ อาจได้เพื่อนและมิตรภาพเป็นทิปก้อนโตก็ได้
สรุป 7 ช่องทางการตลาดแพลตฟอร์มมาแรง สร้างมูลค่าให้แก่ธุรกิจ
ในยุคดิจิทัล การใช้ช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์สื่อกลางการติดต่อซื้อขาย (marketplace) รวมถึงแพลตฟอร์มชื่อดังมาช่วยขายคือฟันเฟืองสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเชื่อมต่อระหว่างธุรกิจคุณกับลูกค้า
7 ช่องทางที่ยกมานี้ เป็นเพียงช่องทางหลักที่มีคนนิยมใช้ ยังมีอีกหลายช่องทางที่จะเข้ามาช่วยสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจของคุณ อย่างไรก็ดี ควรศึกษาในรายละเอียด เงื่อนไขต่าง ๆ อย่างรอบคอบด้วยเพื่อตอบโจทย์ของธุรกิจคุณให้มากที่สุด
หากยังไม่แน่ใจว่าธุรกิจของคุณเหมาะในการขายผ่านช่องทางไหน ติดต่อเพื่อรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญฟรีที่ admins@gotitz.com