เมื่อเรารู้จุดประสงค์ ประโยชน์ ของการมี เว็บไซต์ (Website) หน้าร้านออนไลน์ที่ทุกธุรกิจต้องมีในยุค 4.0  และรู้ว่าเราหรือองค์กรเราต้องการสร้างเว็บไซต์แบบใด CMS หรือ web application ในบทนี้เราจะมาดูกันว่าถ้าต้องการเว็บไซต์ 1 เว็บไซต์นั้น ต้องเตรียมอะไรกันบ้าง

สิ่งสำคัญในการสร้างเว็บไซต์

website domain

1. โดเมน (Domain)

โดเมนหรือที่เราคุ้นเคยกันดีในรูปแบบ url เว็บไซต์ โดเมนคือชื่อเว็บไซต์ที่ได้จดทะเบียนไว้กับทาง domain provider เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของในการใช้งานของโดเมนนั้น ๆ 

เทียบง่าย ๆ ว่าโดเมนคือชื่อร้านออนไลน์ของเรา ชื่อร้านนั้นอาจจะเป็นชื่อบริษัท ชื่อแบรนด์ หรือสามารถตั้งเป็นชื่อใหม่เลยก็ได้ การมีชื่อโดเมนที่จำง่ายและมีคำสำคัญ (keywords) สามารถช่วยในการค้นหาจากระบบเชิร์ทเอนจินท์ได้

นอกจากชื่อที่เราตั้งแล้ว โดเมนจะมีตัวห้อยท้ายหรือนามสกุลโดเมน อาทิ .com .co .ai โดยวิธีการเลือกนามสกุลโดเมนนั้นถ้าสามารถเลือก .com ได้จะดีต่อเว็บ เนื่องจากเป็นนามสกุลที่ได้รับความนิยมและคนส่วนใหญ่ใช้กัน แต่ด้วย .com มีการใช้งานมายาวนาน รวมทั้งเป็นนามสกุลโดเมนที่มักโดนซื้อเพื่อเก็งกำไร ชื่อโดเมนดี ๆ มักจะหาลงท้ายด้วย .com ยาก หากมีชื่อโดเมนที่ต้องการจริง ๆ องค์กรอาจจะเลี่ยงไปใช้นามสกุลอื่นที่เข้ากับการดำเนินการได้ อาทิ .co หรือ .tech สำหรับ tech startup .ai ถ้าเป็นโปรแกรม ai เป็นต้น

การจดทะเบียนโดเมนสามารถเลือกใช้บริการได้ทั้งของต่างประเทศและของไทย ไม่ว่าจะเป็น godaddy.com namecheap.com nipa.com เป็นต้น

website hosting

2. โฮสต์ (Host)

โฮสต์ คือที่เก็บข้อมูลไฟล์ต่าง ๆ ของเว็บไซต์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นตัวภาษาคอมพิวเตอร์ไฟล์ ไฟล์รูป ไฟล์เสียง หรือ ไฟล์ใด ๆ ก็ตามที่เราใช้เพื่อประกอบเป็นเว็บไซต์ขึ้นมา 

บางคนอาจจะเคยได้ยินและสับสนระหว่าง โฮสต์ (Host) กับ เซิฟเวอร์ (server) ว่ามีความต่างกันอย่างไร ถ้าให้เห็นภาพ ให้มองว่าเซิฟเวอร์คือเครื่องคอม 1 เครื่อง ที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูงมาก ๆ ส่วนโฮสต์เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งที่เราขอแบ่งเช่าใช้ในเซิฟเวอร์นั้น ๆ 

1 เซิร์ฟเวอร์ สามารถโฮสต์ได้หลายเว็บไซต์

เช็คลิสต์วิธีการเลือกใช้โฮสต์หรือเซิฟเวอร์

สำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจว่าเว็บไซต์ที่กำลังพัฒนานั้นควรจะเลือกโฮสต์หรือเซิฟเวอร์ดี สามารถลองตอบคำถามด้านล่าง เพื่อใช้เป็นหลักง่าย ๆ ในการเลือก

  • จำนวนข้อมูลที่ใช้มากน้อยแค่ไหน
  • ความเชี่ยวชาญในการติดตั้งระบบสารสนเทศต่าง ๆ 
  • ความปลอดภัยของข้อมูลที่ต้องการ
  • บัดเจตในการเช่า

หากคำตอบของคำถามด้านบนเป็นเสียงส่วนมาก สามารถเลือกใช้เซิฟเวอร์ได้ แต่หากตอบว่าน้อยแนะนำว่าใช้โฮสต์จะเหมาะ และง่ายในการบริหารจัดการเว็บไซต์มากกว่า

code the website

3. ภาษาคอมพิวเตอร์ (Code)

ภาษาคอมพิวเตอร์ หรือการโค้ดดิ้ง คือการเขียนคำสั่งเพื่อประกอบขึ้นมาเป็นเว็บไซต์ หรือเว็บแอปพลิเคชัน โดยในส่วนของภาษาคอมพิวเตอร์นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่านักพัฒนาคนนั้นถนัดภาษาไหน และลูกเล่นที่ต้องการให้ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์มีความจำเป็นที่ต้องใช้ภาษาอะไรเป็นส่วนเฉพาะหรือเปล่า

สรุปก็คือ 1 เว็บไซต์เราต้องมีการเตรียม

– โดเมน

– โฮสต์

– โค้ด (ภาษาคอมพิวเตอร์)

ซึ่ง 3 สิ่งนี้เปรียบเสมือนร้านที่เรากำลังจะสร้างโดเมนคือชื่อร้าน โฮสต์คือที่อยู่ร้าน และภาษาคอมพิวเตอร์คือการทำงานภายในร้าน และการตกแต่งร้านให้สวยงามนั้นเอง

บริษัท ก็อทอิทซ์ จำกัด มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบ และพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน หากผู้ประกอบการท่านใดสนใจพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน สามารถอีเมล์เข้ามาปรึกษาได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

Admins@gotitz.com