การพัฒนาเว็บไซต์นั้นไม่จำเป็นต้องสร้างใหม่ตั้งแต่ 0 หากความต้องการในการพัฒนาเว็บไซต์ไม่มากนักสามารถเลือกใช้บริการ CMS หรือ content management system ในการพัฒนา อาทิ WordPress หรือ Wix โดยโปรแกรม CMS นี้ผู้ประกอบการสามารถเลือกได้ว่าต้องการใช้งานแบบฟรี ต้องการเปลี่ยนธีม เพิ่มความสวยงาม เพิ่มความเป็นเอกลักษณ์ได้เอง หรือใช้ plug-in ที่มีในการปรับปรุงเว็บไซต์โดยที่ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องเข้าใจภาษาคอมพิวเตอร์
แต่ในบางกรณีที่องค์กรมีความต้องการเฉพาะเพิ่มขึ้นมา การใช้ CMS อาจจะไม่ตอบโจทย์ ทั้งในส่วนการใช้งาน และความปลอดภัยของข้อมูล ในบทนี้เราจะมาทำความเข้าใจว่าเว็บไซต์ที่กำลังต้องการพัฒนานั้น ควรพัฒนาแบบใด
ส่วนประกอบของเว็บไซต์
ก่อนที่จะเลือกการพัฒนาเว็บไซต์นั้น มาทำความรู้จักส่วนประกอบหลัก ๆ ของเว็บไซต์กันก่อน เว็บไซต์ที่เราเห็นทั่วไปนั้นประกอบไปด้วยหน้าบ้านกับหลังบ้าน
1. หน้าบ้านของเว็บไซต์ หรือที่เรียกว่า Front-end
หน้าบ้านของเว็บไซต์ คือการดีไซน์เว็บไซต์ให้ออกมาสวยงาม ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์สามารถทำความเข้าใจสิ่งที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอได้อย่างง่ายดาย รวมทั้งการวางปุ่มหรือ call to action ต่าง ๆ ให้เหมาะสมที่ผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถเข้าไปดูรายละเอียดที่สนใจต่อได้ง่าย
ในส่วนนี้ผู้ดูแลจะเป็นกราฟิกดีไซน์หรือการเลือกซื้อธีมที่ชอบแล้วนำมาปรับสีเปลี่ยนรูป ก็สามารถได้หน้าบ้านของเว็บไซต์ที่สวยงามอย่างที่ต้องการได้
2. หลังบ้านของเว็บไซต์ หรือที่เรียกว่า Back-end
หลังบ้านของเว็บไซต์ คือภาษาคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่นักพัฒนา (Developer) ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมา หากเป็นเว็บไซต์สำหรับแสดงสินค้า บริการ แจ้งที่อยู่ หลังบ้านจะไม่ค่อยมีความซับซ้อนสามารถสร้างได้อย่างรวดเร็ว หรือผู้ประกอบการอาจจะสามารถสร้างเองโดยใช้โปรแกรม CMS หรือ content management system หรือที่เราคุ้นหูกันอย่างเว็บไซต์สำเร็จรูปจาก WordPress หรือ Wix (สามารถดูรายละเอียดข้อดีของการสร้างเว็บไซต์จาก Wix ได้ที่นี่ Wix เว็บไซต์สำเร็จรูปน้องใหม่ ตอบโจทย์เว็บไซต์ที่ต้องการความสวยงาม ) แต่หากเว็บไซต์นั้นต้องการมีระบบเพิ่มเข้ามา อาทิ User management (ระบบในการบริหารจัดการผู้ใช้งาน) Account management (ระบบจัดการเอกสารทางบัญชี) หรือ Logistic management (ระบบบริหารจัดการโลจิสติก) เมื่อรวมเว็บไซต์เข้ากับระบบเหล่านี้เว็บไซต์นั้นจะถูกเรียกว่า เว็บแอปพลิเคชัน (Web application)
อาจจะมีบางท่านสงสัยว่าเว็บไซต์ที่กำลังจะพัฒนานั้นควรจะพัฒนาเป็นเว็บไซต์ หรือเว็บแอปพลิเคชัน สามารถใช้ลักษณะข้อมูลที่ปรากฏขึ้นบนเว็บไซต์ในการตัดสินใจพัฒนาได้
ลักษณะข้อมูลที่ปรากฏขึ้นบนเว็บไซต์
การแสดงผลของลักษณะข้อมูลเว็บไซต์ที่เราเห็นนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ Static และ Dynamic
1. Static page
หรือหน้าเว็บที่มีการแสดงข้อมูลคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น หน้าข้อมูลเกี่ยวกับสถิติต่างๆ และการติดต่อบริษัท รวมถึงหน้าข้อมูลสินค้าหรือบริการสำหรับเว็บไซต์ที่ขายสินค้าหรือบริการที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก
2. Dynamic page
หรือหน้าเว็บไซต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น หน้า blog ที่สามารถเพิ่มข้อมูลได้ตลอดเวลา หรือหน้าเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่มีการขึ้นลงของตัวเลขหุ้นตลอดเวลา
การใช้ CMS
เนื่องจาก CMS ต่าง ๆ ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน นอกจากลักษณะข้อมูลที่ปรากฏขึ้นบนเว็บไซต์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของ CMS รวมถึง plug-in ที่ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องพัฒนาใหม่ ได้แก่
1. ระบบ blog
CMS ถูกสร้างมาเพื่อใช้ในการบริหารจัดการบทความ ดังนั้นการเพิ่มข้อมูลในลักษณะบล็อก (Blog) จึงเป็นระบบพื้นฐานที่สุดที่ CMS มีให้
2. ระบบ User
การบริหารจัดการผู้ใช้งานนั้น CMS สามารถจัดการได้ประมาณหนึ่ง หากอ้างอิงถึงระบบบล็อกแล้วคนอเมริกาจะนิยมการทำ Subscription โดยเป็นการจ่ายสมาชิกเป็นรายเดือน เพื่ออ่านบทความที่นำเสนอในรูปแบบเต็ม หรือนำเสนอบทความเฉพาะสำหรับสมาชิกได้
ดังนั้นการบริหารจัดการผู้ใช้ของ CMS จะมีในส่วน
-
แอดมิน
แอดมินเป็นสิทธิสูงสุดของ CMS ส่วนใหญ่ โดยสามารถบริหารจัดการได้ทุกส่วนของหลังบ้านเว็บไซต์ ตกแต่งหน้าบ้านของเว็บไซต์ เพิ่มลด หรือลบผู้ใช้ในลำดับขั้นอื่น ๆ ได้
-
ผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความจะสามารถเข้าถึงฟังค์ชันบล็อก เพื่อเพิ่ม แก้ไข และลบเนื้อหาบทความต่าง ๆ ได้
-
สมาชิก
สมาชิกเป็นผู้ใช้งานที่สมัครใช้งาน โดยมีการลงทะเบียนผ่านอีเมล์ หรือ social media login ต่าง ๆ สมาชิกสามารถแบ่งลำดับขั้นได้
-
ผู้ใช้งานทั่วไป
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมที่เข้ามาชมเว็บไซต์
3. ระบบ E-commerce
จากความต้องการในการซื้อขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ CMS มีความจำเป็นในการสร้าง plug-in ที่สามารถรองรับความต้องการนี้ได้ โดย plug-in e-commerce ใน CMS จะสามารถให้ผู้ใช้งานกดหยิบสินค้าใส่ตะกร้าได้ กดเข้าไปดูสินค้าในตะกร้าได้ สั่งซื้อสินค้าในตะกร้านั้นได้ หากได้ทำการเชื่อมกับระบบ payment gateway ก็สามารถทำการตัดบัตรไม่ว่าจะเป็นบัตรเดบิทหรือบัตรเครดิตได้ และสามารถส่งยืนยันการจ่ายเงินเข้ามาในระบบได้
จะเห็นได้ว่าหากต้องการพัฒนาเว็บไซต์สำหรับนำเสนอข้อมูลองค์กร นำเสนอสินค้าและบริการ มีการจัดการผู้ใช้งานบ้าง และมีระบบตะกร้าเพียงเล็กน้อย สามารถเริ่มต้นเว็บไซต์ได้ด้วย CMS
ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งที่เพิ่มมาหรือ plug-in ที่เพิ่มเข้าไปใน CMS คือโอกาสในการสร้างช่องว่างให้ผู้ไม่ประสงค์ดีในการเข้ามาดึงข้อมูลไปได้ ดังนั้นหากองค์กรที่มีความต้องการเว็บไซต์ขายสินค้าแนะนำว่าควรจ้างพัฒนาโดยใช้ framework และวางระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ดีจะช่วยป้องกันความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cyber security) ได้
จากข้อมูลทั้งหมดหากองค์กรต้องการพัฒนาเว็บไซต์ขึ้นมาสักเว็บ ควรดูข้อมูลที่จะนำมาแสดงผล และระบบที่ต้องการมี ก็สามารถบอกได้ว่าองค์กรของท่านต้องการเว็บไซต์ที่สร้างจาก CMS หรือต้องการเว็บแอปพลิเคชันที่มีระบบสำหรับตอบโจทย์องค์กรโดยเฉพาะ
การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันนั้นผู้ประกอบการมีความจำเป็นในการหานักพัฒนาที่มีประสบการณ์ ในวางระบบ วางขั้นตอน และการพัฒนา เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเว็บแอปพลิเคชันที่พัฒนานั้นสามารถใช้ได้จริงตามความต้องการ หากผู้ประกอบการท่านใดสนใจพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน สามารถอีเมล์เข้ามาปรึกษาได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ที่ Admins@gotitz.com