ทำอย่างไรเมื่อใช้ 3rd party tracking ไม่ได้ นักการตลาดในยุคดิจิทัลมักจะคุ้นเคยกับการใช้งาน tracking ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น google tracking, FB pixel tracking, app tracking และอื่น ๆ ตามแต่ความถนัดของแต่ละคน ซึ่งการใช้ tracking ต่าง ๆ นั้นก็เพื่อจะได้มาซึ่งกลุ่มข้อมูลลูกค้าที่นักการตลาดเอามาวิเคราะห์ และเผยแพร่โฆษณาไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ตรงกลุ่มที่สุด 

แต่ผู้ที่เคยใช้การตลาดดิจิทัลด้วยเทคนิคพิเศษนี้ก็เกิดความสะเทือนอย่างหนักกับนโยบายของ apple เกี่ยวกับการจำกัดการเข้าถึงพฤติกรรมลูกค้า รวมทั้งการ  tracking ไปครั้งหนึ่งเมื่อต้นปี 2564 ที่ผ่านมา ผลกระทบโดยตรงคือค่าโฆษณาที่แพงขึ้นเป็นเท่าตัวจากการแข่งบิท พร้อมกับผลลัพธ์ที่แทบจะวัดผลไม่ได้ เนื่องจากเป็นการทำโฆษณาแบบหว่านแห่ ไม่สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้อย่างที่เคยเป็น

มาวันนี้ Google ได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าจะยุติการสนับสนุน 3rd party cookie ที่มีทั้งหมดบน Chrome บราวเซอร์ ภายในสิ้นปี 2566 ซึ่งหมายความว่านักการตลาดดิจิทัลต้องรีบเปลี่ยนกลยุทธ์ และหาเครื่องมือใหม่ในการได้มาซึ่งข้อมูลลูกค้า หรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย วางแผน ทดลอง และปรับใช้ให้ทันก่อนปลายปีหน้านั้นเอง

จะทำอย่างไรเมื่อใช้ 3rd party tracking ไม่ได้

ทำอย่างไรเมื่อใช้ 3rd party tracking ไม่ได้

1. นักการตลาดออนไลน์ต้องศึกษาการตั้งค่า Google Tag Manager 

เนื่องจากนโยบายนี้เกี่ยวข้องกับ browser และ cookie สิ่งที่กระทบอย่างหนักก็คือเว็บไซต์ ซึ่งวิธีรับมือก็ไม่ยากนัก เพียงแค่อาศัยความเข้าใจและเชี่ยวชาญ ปรับ tracking ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้เป็น google tracking ไม่ว่าจะเป็น Google Tag Manager การเชื่อมต่อกับ Google Analytics ซึ่ง 2 บริการนี้ทาง google มองว่าเป็น1st party tracking ทำให้นักการตลาดยังสามารถตั้งค่ารับข้อมูลของลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ และทำโฆษณาไปยังกลุ่มลูกค้าที่เรา segment ได้เหมือนเดิม

แต่ความยากอยู่ที่นักการตลาดที่ยังไม่เคยใช้ google tracking จะต้องทำความเข้าใจในการใช้งาน tracking ต่าง ๆ ที่ google มี โดยเฉพาะ Google Tag Manager ส่วนที่ง่ายก์คือนักการตลาดสามารถทำเองได้เลย ส่วนที่ยากและซับซ้อนในการทำความเข้าใจ เรื่องตั้งค่า Tag ตั้งค่า variables โดยเฉพาะเว็บ E-commerce ที่ต้องการรู้ หรือ Customer journey ที่ชัดเจน นักการตลาดยิ่งต้องมีความละเอียดในการตั้งค่าจุดต่าง ๆ หรือ event ต่าง ๆ ในเว็บไซต์มากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้อาจจะต้องใช้เวลาในการศึกษาและปรับตัว

2. ต้องเตรียมหาระบบรองรับพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA 

และแน่นอนว่าการประกาศใช้พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่กำลังประกาศใช้อย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายนนี้ ก็จะเป็นอีกแรงผลักดันหนึ่งที่ทำให้การเก็บข้อมูลลูกค้า เก็บพฤติกรรมลูกค้าในเว็บไซต์มีความยากมากขึ้น ซึ่งนักการตลาดก็ต้องเตรียมหาระบบ และทำให้สามารถใช้จริงได้ก่อนเวลาที่พรบ.ประกาศใช้ 

การที่มีระบบข้อมูลส่วนบุคคลมีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดีคือเราจะมีระบบที่สามารถรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ข้อเสียคือโอกาสที่ลูกค้าจะไม่ให้เราเข้าถึงข้อมูลที่สามารถนำไปวิเคราะห์ต่อได้มีสูง ดังนั้นนักการตลาดอย่างลืมสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าเพื่อแลกกับการที่ลูกค้ายอมเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้เรานำไปวิเคราะห์ต่อยอดเป็นวิธีที่ดีที่สุดทั้งสำหรับลูกค้าและผู้ประกอบการเอง

3. ศึกษานโยบายของแต่ละ marketplace และปรับทิศทางแผนการตลาดออนไลน์

ส่วนใครที่ยังพึ่งพา marketplace เป็นช่องทางหนักในการขายของ ก็ต้องตามดูนโยบายของแต่ละ marketplace ดูกันคะว่ามีการ track พฤติกรรมลูกค้าอย่างไร มีความถูกต้องแม่นยำได้ขนาดไหน และพึ่งพาผลิตภัณฑ์ของ google หรือเปล่า ซึ่งถ้ากลางปีนี้ยังไม่มีนโยบายอะไรออกมาจาก platform นั้น แนะนำให้เตรียมหา marketplace อื่นไปขายแทน หรือถ้ายอดขายพอไปได้ มีลูกค้าประจำบ้างแล้ว แนะนำให้เปิดเว็บไซต์ และมีช่องทางโซเชียลของตัวเอง เพื่อเข้าใจลูกค้าของเราให้มากยิ่งขึ้น รับฟังลูกค้าให้มาก และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เพื่อพัฒนาสินค้า บริการ รวมถึงต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อย่างไม่รู้จบ