กลยุทธ์การตลาดนั้นเปรียบเสมือนคัมภีร์ของนักการตลาดในองค์กร ซึ่งกลยุทธ์การตลาดจะประกอบไปด้วย ภาพรวมการตลาดขององค์กร และจุดหมายปลายทางในการทำการตลาด การมีกลยุทธ์การตลาดนั้นจะช่วยให้การทำการตลาดขององค์กรสามารถดำเนินไปอย่างมีแนวทางหรือมีไกด์ในการทำงาน ถึงแม้การวางกลยุทธ์การตลาดนั้นจะมีข้อดีหลากหลาย แต่ก็มีข้อเสียที่องค์กรต้องนำมาคำนวณก่อนจะวางแผนกลยุทธ์การตลาด
การวางแผนกลยุทธ์การตลาด (Marketing strategy planning)
กลยุทธ์การตลาดนั้นเอามาตอบโจทย์ว่าจะทำการตลาดทำไม อะไรคือจุดประสงค์ในการทำการตลาดขององค์กร และกลยุทธ์การตลาดที่ออกมานั้นตอบสนองกลยุทธ์องค์กร (Cooperate strategy) อย่างไร เรียกง่าย ๆ ว่ากลยุทธ์การตลาดนั้นถือเป็นหลักที่นักการตลาดต้องเข้าใจเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการตลาดให้เหมาะกับ Vision Mission ขององค์กร
กลยุทธ์การตลาดควรมีอะไรบ้าง
- เป้าหมายในการทำการตลาด (Marketing goal)
- วิเคราะห์สถานการณ์ตลาด (Market overview)
- สิ่งที่นำเสนอที่มีคุณค่าเฉพาะตัว (Unique value proposition)
- กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Target market)
- วิเคราะห์คู่แข่ง (Competitor analysis)
- การสื่อสาร (Communication)
ในการวางแผนกลยุทธ์การตลาดนั้น เริ่มจากไปดูกลยุทธ์องค์กรก่อน ว่าเป้าหมายขององค์กรเป็นอย่างไรทั้งระยะสั้น และระยะยาว โดยเฉพาะในส่วนการเติบโตขององค์กร ต้องการเพิ่มยอดขายเท่าไหร่ ต้องการเพิ่มลูกค้าเท่าไหร่ เมื่อได้ข้อมูลแล้วจึงจะสามารถนำมาใช้ในการวางกลยุทธ์ในส่วนของการตั้งงบประมาณ การจัดสรรบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรได้
หลังจากเข้าใจความต้องการในการเติบโตขององค์กรแล้ว นักการตลาดต้องทำการวิเคราะห์ภาพรวมของตลาด ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ตลาดในปัจจุบัน โอกาสการเติบโตในอนาคต ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การเข้าใจ MarTech (Marketing technology) ที่สามารถตอบสนองการเติบโตขององค์กรเป็นอีกจุดสำคัญในการช่วยลดต้นทุน และเพิ่มผลกำไรให้กับองค์กรได้อย่างมาก
จากนั้นก็มาดูว่าสินค้าหรือบริการของเรามีจุดแข็งอย่างไรบ้าง เหมาะในการเข้าไปเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายแบบใด มีคู่แข่งอย่างไรบ้าง สินค้าหรือบริการของเรามีที่เหนือกว่าคู่แข่งอย่างไร และจุดอ่อนของสินค้าหรือบริการเมื่อเทียบกับคู่แข่งแล้วเป็นอย่างไรบ้าง
เมื่อได้ข้อมูลทั้งในส่วนภายในและภายนอกองค์กรแล้ว นักการตลาดจะสามารถวางไกด์ไลน์ในการสื่อสารทั้งในระดับองค์กร และการส่งสารไปยังนอกองค์กรได้อย่างเหมาะสม
ประโยชน์ของการวางกลยุทธ์การตลาด
1. เข้าใจภาพรวมของตลาด
การวางกลยุทธ์การตลาดที่ดีนั้นจะเริ่มมาจากการทำวิจัยตลาดว่าตอนนี้ความต้องการของผู้บริโภคเป็นอย่างไร สินค้าหรือบริการที่เรากำลังนำเสนอนั้นเหมาะสม หรือสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้หรือไม่ ถ้ายังมีอะไรต้องปรับ ถ้ามีแล้วจะมีจุดไหนที่สามารถปรับให้จุดเด่นนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง
เทรนด์ Digital Marketing มาแรง อัพเดตไว้จะได้ไม่ out
ข้อดีของการทำตลาดแบบ Predictive Marketing ที่จะช่วยธุรกิจให้ยอดขายปังยิ่งขึ้น
Digital Marketing คือ อะไร สำคัญหรือไม่ในยุคดิจิทัล
2. สร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์อย่างเหมาะสม
เมื่อเราเข้าใจภาพรวมของตลาดแล้วสิ่งต่อมาที่ทางแบรนด์ต้องทำคือการสร้างภาพลักษณ์ให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ได้เลือกไว้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้สี รูปแบบ การออกแบบ รวมถึงการสร้างคอนเซปต์ (Concept) ของแบรนด์ แนวคิด และเนื้อราวที่ต้องการส่งมอบสารไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
การสร้างภาพลักษณ์ที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะเป็นใบเบิกทางชั้นดีสำหรับการได้รับการตอบรับ หรือตอบสนองที่ดีกลับมาจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายนั้น ๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างแบรนด์ที่กล้าเปลี่ยนเพื่อให้ทันยุค Digital Transformation
ประโยชน์จากการทำ Digital Marketing ที่คนสร้างแบรนด์ไม่ควรมองข้าม
3. ประหยัดต้นทุนในการประชาสัมพันธ์
เนื่องจากการกลยุทธ์การตลาดเป็นการวางแผนเพื่อให้รู้ว่าแบรนด์นี้ต้องการขายให้ใคร ขายอย่างไร persona ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นอย่างไร ยิ่งวางกลยุทธ์การตลาดได้ละเอียด แม่นยำ มากเท่าไหร่ การทำประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายก็ง่ายยิ่งขึ้นเท่าไหร่
โดยเฉพาะในการทำการตลาดออนไลน์หากสื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งออกไปนั้นมีคนให้ความสนใจ อัลกอริธึมของแพลตฟอร์มต่าง ๆ จะช่วยให้เกิดการเข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์นี้ต่อคนที่มีแนวโน้มความชื่นชอบ หรือพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับคนที่มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อที่ได้ส่งไป ทำให้สื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งออกนั้นมีคนเห็นเพิ่มมากขึ้นในจำนวนเงินที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ที่ใกล้เคียงกัน
ข้อเสียในการทำกลยุทธ์การตลาด
1. ใช้เวลาในการวางแผน
การวางกลยุทธ์การตลาดนั้นไม่สามารถวางแผนออกมาได้ภายในข้ามคืน กลยุทธ์ยิ่งละเอียดยิ่งใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลประกอบอย่างมากเพื่อให้ได้รู้ถึงข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อมาแบ่งเป็นกลุ่มลูกค้า รวมถึงการเข้าใจ Customer journey ของกลุ่มลูกค้าในทุก ๆ Touch point ที่ลูกค้าสัมผัสกับแบรนด์
2. ค่าใช้จ่ายในการวางแผน
นอกจากจะใช้เวลาในการวางแผนที่ยาวนานแล้ว การวางกลยุทธ์การตลาดมักมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามารวมด้วย อาทิ การทำวิจัยตลาด การซื้อข้อมูลการตลาด ยิ่งข้อมูลที่ต้องการมีความเฉพาะเจาะจงมากเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายในการวิจัยตลาดก็มากขึ้นเท่านั้น
อย่างไรก็ตามการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดนั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรควรจัดทำเพื่อให้แบรนด์สินค้าหรือบริการมีไกด์และเป้าหมายในการเติบโตที่เชื่อมต่อกับการเติบโตขององค์กร องค์กรควรจัดเตรียมเจ้าหน้าที่และงบประมาณเพียงพอเพื่อให้ได้กลยุทธ์การตลาดที่สามารถนำไปใช้ได้จริง
หากองค์กรไหน ที่กำลังมองหาที่ปรึกษาด้านการตลาด บริษัท ก็อทอิทซ์ จำกัด มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการตลาด สามารถอีเมล์เข้ามาปรึกษาได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ Admins@gotitz.com