SaaS บริการของ cloud computing SaaS กลายเป็นตัวช่วยด้านการทำงานและธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ช่วยพัฒนา สนับสนุน และอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับระบบซอฟต์แวร์ภายในองค์กรให้สามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดย SaaS เป็นหนึ่งในบริการของ Cloud Computing ที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อสำหรับการให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต โดยมีผู้สร้างซอฟต์แวร์เป็นผู้ให้บริการแก่ผู้ใช้งานเพื่อสำหรับการใช้ระบบซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ต่างๆ SaaS จะช่วยในการดูแล จัดเก็บ ควบคุมและจัดการด้านต่างๆ เกี่ยวกับระบบขององค์กร 

SaaS เป็นส่วนประกอบสำคัญในการดำเนินธุรกิจปัจจุบันที่ถูกพูดถึงอย่างแพร่หลาย เครื่องมือที่จะเสริมสร้างความมืออาชีพให้แก่องค์กร เหมาะกับยุคดิจิทัลที่การใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารสำหรับการเชื่อมต่อสื่อสาร อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ จะทำอย่างไรให้คุณสามารถใช้งาน SaaS ที่มีอยู่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและมีความปลอดภัย ในคลิปบทความนี้จะพาคุณไปพบกับรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้งานอย่างมืออาชีพ ตัวอย่าง SaaS พร้อมการสร้างความปลอดภัยด้วยการ Backup ข้อมูล 

SaaS บริการของ cloud computing

SaaS บริการของ cloud computing

SaaS คืออะไร? 

SaaS ย่อมาจาก Software as a Service โดยเรียกกันในชื่อภาษาไทยว่า ซอฟต์แวร์บริการ ซึ่งมีความหมายตรงตามตัวนั่นเอง SaaS เป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ หรือซอฟต์แวร์ที่พร้อมสำหรับการใช้งานผ่านทางอินเตอร์เน็ตโดยใช้ระบบ Cloud โดยเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้งานสามารถที่จะเรียกเปิดได้ตามที่ต้องการในช่วงเวลาตางๆ ที่ไม่มีการจำกัด ซึ่งโดยปกติแล้ว SaaS จะถูกจัดเก็บภายในเซิร์ฟเวอร์ของ Cloud ผู้ให้บริการที่สามารถใช้งานได้ทั้งผ่านเว็บ บราวเซอร์ และแอปพลิเคชั่น โดยไม่ต้องติดตั้งหรือจะติดตั้งโปรแกรมซอฟต์แวร์ลงเครื่องเพื่อการใช้งานตามระยะเวลาที่กำหนด โดยสามารถที่จะเชื่อมต่อได้จากทุกที่ทุกช่วงเวลาไม่มีการจำกัด

SaaS เป็นบริการซอฟต์แวร์ผ่านทางอินเตอร์เน็ตที่คุณสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ช่วยให้การดำเนินธุรกิจและการใช้งานด้านต่างๆ มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การจัดเก็บข้อมูล, การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น ซึ่งการใช้งาน SaaS มีทั้งรูปแบบที่ฟรีและมีการเช่าบริการที่จะมีอัตราการจ่ายเงินแตกต่างกันออกไปตามปัจจัยที่ใช้จริง ยกตัวอย่างเช่น ระยะเวลาในการใช้งาน จำนวนผู้ใช้ เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้งานและองค์กรไม่ต้องติดตั้งระบบการทำงานต่างๆ ไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มเติมหรือฮาร์ดแวร์ใดๆ ทางผู้ให้บริการ SaaS  จะดูแลทุกขั้นตอน ทุกการบำรุงรักาของระบบ ผู้ใช้งานสามารถเข้าสู่ระบบซอฟต์แวร์ SaaS จากที่ไหน อุปกรณ์ใดก็ได้ 

 

ข้อดีของการใช้บริการ SaaS

เพื่อให้คุณได้เห็นถึงข้อดีและลักษณะที่ชัดเจนของ SaaS มากยิ่งขึ้น เราได้รวบรวมข้อดีของการใช้บริการ SaaS มาแนะนำ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 

  1. การสามารถใช้งาน SaaS ได้ทันที ไม่ต้องมีอุปกรณ์หรือติดตั้งฮาร์ดแวร์ ช่วยลดเวลาและขั้นตอนในการติดตั้งที่ยุ่งยาก
  2. SaaS สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดีมีต้นทุนที่ต่ำเนื่องจากคุณไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ไม่ต้องบำรุงรักษารวมถึงการอัปเกรดระบบ ทางผู้ให้บริการ SaaS จะเป็นผู้ดูแลทั้งหมด
  3. SaaS สามารถใช้งานได้ทุกช่วงเวลาและทุกสถานที่โดยดำเนินการผ่านอินเตอร์เน็ตได้อย่างสะดวก
  4. SaaS รองรับทุกอุปกรณ์การใช้งานที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไม่มีการจำกัดระบบอุปกรณ์เคลื่อนที่สามารถใช้ได้ทั้งใน ไอแพด สมาร์ทโฟน
    แท็ปเล็ต รวมถึงการใช้งานผ่านประเภทคอมพิวเตอร์ที่เข้าถึงได้ง่ายทั้งในระบบ Mac OS และ Windows
  5. สำหรับค่าบริการของ SaaS เป็นการชำระเงินแบบจำกัดเวลา หรือ Subsciption แตกต่างจากซอฟต์แวร์ติดตั้งที่คุณไม่จำเป็นต้องซื้อแบบถาวรและจ่ายก้อนใหญ่มีให้เลือกทั้งแบบรายเดือนและรายปีที่สามารถยกเลิกได้ตามเงื่อนไข ซึ่งถือว่ามีความยืดหยุ่นที่สูงมาก
  6. SaaS สามารถที่จะบันทึกข้อมูลได้อย่างอัตโนมัติช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดข้อมูลสูญหายได้เป็นอย่างดี
  7. การอัปเดตซอฟต์แวร์ของผู้ให้บริการจะดำเนินการผ่านทางระบบกลางทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องมีการแยกอัปเดตใดๆ ทั้งสิ้น 
  8. สามารถแบ่งปันข้อมูลได้อย่างอิสระ ไม่มีการจำกัดเกี่ยวกับเชื่อมต่อระหว่างการทำงาน เพื่อนร่วมทีมและคู่ค้า

 

กล่าวได้ว่าการใช้บริการซอฟต์แวร์ SaaS มีความยืดหยุ่นสูง และช่วยอำนวยความสะดวกด้านการใช้งานได้เป็นอย่างดี คุณสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกในทุกอุปกรณ์ที่เพียงแค่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต SaaS มีความปลอดภัยในด้านการจัดเก็บข้อมูลที่ดีเยี่ยมรวมถึงการบันทึกข้อมูลอัตโนมัติและการสำรองข้อมูลที่ดีตลอดจนถึงระบบที่มีความทันสมัยและมีการอัปเกรดอยู่ตลอดเวลา

SaaS บริการของ cloud computing มีตัวอย่างอะไรบ้างที่น่าสนใจ?

ตัวอย่างของซอฟต์แวร์บริการในรูปแบบ SaaS คือสิ่งที่จะช่วยให้คุณสามารถเข้าใจได้ถึงคุณสมบัติและมุมมองของ SaaS ได้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น ที่ต้องบอกเลยว่าในปัจจุบันนี้คุณจะต้องคุ้นเคย หรือแม้กระทั่งอาจจะได้ที่เปิดใช้งานระบบ SaaS เหล่านั้นไปแล้วด้วยซ้ำผ่านระบบ SaaS ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ อีเมล ที่หลายคนต่างใช้งานกันเป็นประจำและคุ้นเคยกันอย่างดี โดยสามารถที่รับและจัดส่งข้อความ ไฟล์งานต่างๆ ส่งและรับอีเมลกันได้อย่างอิสระ โดยไม่จำเป็นต้องมีการติดตั้งโปรแกรม 

นอกจากนี้ยังมีอีกหลากหลายผู้ที่ใช้งานระบบซอฟต์แวร์ SaaS อย่างเช่น หรือ Dropbox เครื่องมือที่มีคุณภาพสูง สำหรับการจัดการระบบและทำงานในปัจจุบัน Dropbox ถือว่าเป็นอันดับต้นๆ ของผู้ให้บริการจัดเก็บข้อมูลที่มีความนิยมสูง เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อและทำงานร่วมกันระหว่างคู่ค้าและทีมงานได้ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติเพิ่มเติมอีกมากมาย 

นอกจากนี้ยังมีอีกบริษัทที่ให้บริการ SaaS ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้อย่างมากในปัจจุบันกันก็คือ Canva  SaaS ที่เปิดให้บริการทั้งแอปพลิเคชั่นและใช้งานผ่านบราวเซอร์ได้ง่ายๆ ตอบโจทย์นักออกแบบ และการทำงานได้เป็นอย่างดี สามารถสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ได้อย่างหลากหลายโดยเทมเพลตที่ทาง Canva ได้จัดเตรียมเอาไว้มากมาย สามารถสร้างทีมเพื่อแชร์และเชื่อมต่อ เปิดให้บริการทั้งแบบฟรีและผู้ใช้งานแบบ Profesional 

Zendesk เป็นที่คุ้นเคยของผู้คนทั่วโลก การบริการที่ใช้งานได้ง่ายและสะดวกผ่านระบบ SaaS ที่คุณสามารถเชื่อมต่อได้อย่างอิสระ ให้การสนับสนุนผู้ใช้งานได้อย่างดีเยี่ยมในการสร้างสรรค์ผลงานทางธุรกิจที่มีความหลากหลาย โดยถือว่าเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการใช้งานผ่านระบบซอฟต์แวร์ SaaS

SaaS บริการของ cloud computing

 

การสำรองข้อมูลคืออะไร ความจำเป็นของการ Backup

สำหรับการใช้งานอินเตอร์เน็ตแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้การเลือกระบบซอฟต์แวร์ก็คือการสำรองข้อมูล หรือการ Backup ที่หมายถึงการคัดลอกแฟ้มข้อมูลเพื่อสำหรับการทำสำเนา การสำรองข้อมูลคือการคัดลอกฐานข้อมูลเพื่อที่จะป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ หลีกเลี่ยงความเสียจากการที่ข้อมูลสูญหาย เซิร์ฟเวอร์ล่ม อุปกรณ์ล้มเหลวและปัญหาด้านต่างๆ ที่ถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานส่วนบุคคล องค์กรขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ที่การสำรองข้อมูลเป็นเรื่องที่ควรทำอยู่เสมอในการทำงาน

การ Backup มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อป้องกันความเสียหายของไฟล์งานและข้อมูลที่คุณจัดเก็บเอาไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลของคุณจะปลอดภัย ไม่เสี่ยงและสามารถนำมาใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและอยู่เสมอ ยิ่งโดยเฉพาะในองค์กร ธุรกิจต่างๆ การสำรองข้อมูลเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้จริงๆ

 

หลักการสำรองข้อมูล กฎ 3-2-1 Backup Rule

สำหรับหลักการสำรองข้อมูลที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดในปัจจุบันคือกฎ 3-2-1 Backup Rule ที่ถูกนำเสนอโดยช่างภาพชื่อดังอย่าง Peter Krogh จาก American Society of Media Photographers (ASMP) ที่ได้ออกมาให้คำแนะนำ เขียนเกี่ยวกับ Best Practice ในการสำรองข้อมูลของช่างภาพ จึงทำให้การสำรองข้อมูลด้วยกฏดังกล่าวกลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยมีความหมายและใจความสำคัญหลักๆ ได้แก่

  • 3 หมายถึง การเก็บข้อมูลสำคัญไว้ทั้งหมดอย่างน้อย 3 ชุดไม่ว่าจะเป็นข้อมูลใดๆ ก็ตามโดยมีข้อมูลหลักที่เป็นต้นฉบับจำนวน 1 ชุดและข้อมูลสำหรับสำรอง 2 ชุด
  • 2 หมายถึง การจัดเก็บข้อมูลและไฟล์ต่าง ๆ แยกออกจากกันอย่างน้อย 2 ประเภทอุปกรณ์ เพื่อที่จะได้ใช้งานได้ในอุปกรณ์ประเภทใดประเภทหนึ่งเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นในอีกอุปกรณ์
  • 1 หมายถึง การจัดเก็บข้อมูล 1 ชุดในรูปแบบออฟไซต์หรือการจัดเก็บที่สาขาสำนักงานต่างๆ

 

บทส่งท้าย

จุดเด่นที่ทำให้ SaaS สามารถตอบโจทย์ด้านการจัดเก็บข้อมูลและสำรองข้อมูลคือความรวดเร็วในการบันทึกให้เป็นอัตโนมัติ ข้อมูลดังกล่าวจะสามารถถูกจัดเก็บได้เป็นปัจจุบันและปลอดภัยอยู่เสมอ ซึ่งคุณสามารถเรียกใช้งานได้ทุกช่วงเวลาที่ต้องการ ซึ่งอาจจะเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการการจัดเก็บข้อมูลที่เข้ามาช่วยให้การสำรองข้อมูลของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น