Customer journey map หรือแผนที่การเดินทางของลูกค้า เป็นตัวช่วย หรือ framework ในการโฟกัสแต่ละ Touchpoint
จาก 6 Touchpoint ของ Customer Journey ด้านบน จะเห็นได้ว่าเป็นขั้นตอนการวางโอกาสในการเจอลูกค้าเพียงคร่าว ๆ เท่านั้น เพราะในแต่ละ Touchpoint

แบรนด์อาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องปรากฏตัวในหลายช่องทางเพื่อให้ลูกค้าได้พบเจอสินค้าและบริการของธุรกิจ ซึ่งในการปรากฏตัวของแบรนด์ต่อหน้าลูกค้าอาจจะมีทั้งการจัดกิจกรรมนอกสถานที่ การทำบิลบอร์ดข้างทาง การทำโฆษณาผ่านรถโดยสารสาธารณะ หรือถ้าหากเป็นการทำการตลาดออนไลน์ ก็จะมีทั้งการทำ Facebook ads, Google ads, Google display network, Line@ และอื่น ๆ ตามความเหมาะสมกับลูกค้า หากไม่มีการเขียนออกมาเพื่อสื่อสารภายในทีม ก็ยากที่จะตรวจสอบความคืบหน้าของแต่ละช่องทางในแต่ละ Touchpoint

customer journey

Customer journey map สามารถวางรูปแบบในการจัดทำได้หลากหลาย โดยมี 2 องค์ประกอบหลักที่ต้องมีได้แก่
1. รายละเอียดของแต่ละ Touchpoint
2. ประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับจากแต่ละ Touchpoint

ขั้นตอนการวางแผน Customer journey map

  1. ตั้งจุดประสงค์หรือเป้าหมายในการสร้าง customer journey map
  2. รวบรวมข้อมูลทั้งจาก Primary data และ secondary data
  3. ตั้งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีความเฉพาะจง และจัดทำ persona
  4. วาง Touchpoint หลัก และรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละ Touchpoint
  5. ตั้งเป้าหมายประสบการณ์ที่แต่ละ persona ควรได้รับผ่าน Touchpoint ต่าง ๆ ให้ออกมาเป้นกิจกรรมและความรู้สึก
  6. สรุปรายการ Marketing material ที่ต้องใช้ในการ support ในแต่ละ Touchpoint

เมื่อมีการวางแผน และนำแผนไปปฏิบัติแล้ว สิ่งที่ต้องทำให้ขั้นต่อไปก็คือการประเมินว่า Customer journey map ที่เราทำนั้นยังเหมาะสมอยู่หรือไม่ เนื่องจากสภาพแวดล้อม และพฤติกรรมของลูกค้าอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง customer journey map ที่เคยทำไว้ อาจจะไม่เหมาะสมสำหรับในสถานการณ์ปัจจุบันแล้วก็เป็นได้ ดังนั้นเมื่อประเมินแล้วนักการตลาดอย่าลืมที่จะปรับ customer journey map ให้เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งนำแผน customer journey map ที่เคยทำมาวิเคราะห์เพื่อหาโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าที่ดี และสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้ดียิ่งกว่าเดิม

ตัวอย่าง Customer journey map

Customer journey map ของ Starbuck

ตัวอย่าง customer journey ของ Starbucks

Image : Starbucks customer journey map

https://www.edrawmax.com/templates/1011838/?_ga=2.7150192.317013930.1652177794-1685340736.1652177794

จะเห็นได้ว่า Customer journey map ของ Starbucks นั้นเรียบง่าย โดยอิงจากการการเดินทางของลูกค้าในการเข้ามาซื้อกาแฟในแต่ละครั้งตั้งแต่ก่อนเข้าร้านลิสต์เป็นกิจกรรมที่ลูกค้ามักจะทำในแต่ละ Touchpoint และประสบการณ์ที่ลูกค้ามีโอกาสได้รับจากการต้องการดื่มกาแฟที่ Starbucks ในครั้งนี้ว่าแต่ละ Touchpoint ลูกค้าได้รับประสบการณ์อย่างไรกลับไปบ้าง ดีไม่ดี เพราะอะไร

Customer journey map สำหรับ B2B

ตัวอย่าง Customer journey map สำหรับ B2B

Image : ตัวอย่าง Customer journey map สำหรับ B2B

https://images.edrawsoft.com/images2019/articles/customer-journey-examples/b2b-customer-journey-map-template.png

เมื่อเทียบกับ Customer journey map ของ Starbucks แล้ว Customer journey map สำหรับ B2B นั้นมีความละเอียดกว่ามากโดยมีรายละเอียดเพิ่มในส่วนการกีดกัน (Barrier) และแรงกระตุ้น (Motivate) ในแต่ละ Touchpoint และในแต่ละ Touchpoint ก็มีการระบุช่องทางในการติดต่อกับลูกค้าอย่างชัดเจนว่าสามารถติดต่อได้อย่างไร

Customer journey map สำหรับ Digital Experience Journey

ตัวอย่าง customer journey map สำหรับ digital experience

Image: Customer journey map สำหรับ Digital Experience Journey

Source : http://boagworld-cdn.sirv.com

Customer journey แบบนี้จะค่อนข้างเป็นที่คุ้นเคยของนักการตลาดออนไลน์ เนื่องจากทุก Touchpoint ต้องใช้ digital solution หรือ online marketing แทบทั้งสิ้น การทำกราฟิกอาจจะทำให้มองเห็น customer journey และ Touchpoint ได้ชัดเจน แต่จะขาดเรื่องประสบการณ์ของลูกค้าที่จะเจอในแต่ละ Touchpoint ไป ซึ่งอาจจะทำเป็นเอกสารเพิ่มเติมมาอธิบายรายละเอียดของกราฟิกนี้ก็เป็นได้

จากตัวอย่างจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า Customer journey map นั้น ไม่ได้มีกฎเกณฑ์หรือ Framework ที่ตายตัว ยึดเอาความเหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย Touchpoint ที่แบ่ง กิจกรรมที่ทำ และประสบการณ์ ก็เพียงพอในการสร้างเป็น customer journey map ที่เปรียบเสมือนแผนที่หรือไกด์นำทางในการวางกลยุทธ์การสื่อสาร การเข้าถึงลูกค้าในแต่ละช่องทางของแต่ละ Touchpoint ต่อไป

สามารถติดต่อเพื่อรับคำปรึกษาฟรีได้ที่
E-mail : admins@gotitz.com