เชื่อว่าหลาย ๆ คน ยังมีความสับสนในเรื่องของการทำโฆษณา และ การประชาสัมพันธ์ (PR) มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร? จะเลือกแบบไหนเพื่อให้แบรนด์เกิดการจดจำที่ดี
GOT ITZ จะพามาทำความรู้กันการทำโฆษณาและการ PR เพื่อให้เข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจได้อย่างเหมาะสมที่สุด
การโฆษณา คืออะไร?
การโฆษณา (advertising) คือ การนำเสนอสินค้าและบริการต่อสาธารณะ โดยการเผยแพร่ สรรพคุณ รายละเอียดสินค้าและบริการไปถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย วัตถุประสงค์หลักของการโฆษณา คือ ชักจูงใจกลุ่มเป้าหมายให้เห็นถึงจุดโดดเด่นของสินค้าหรือบริการ ทำให้อยากซื้อสินค้าหรือใช้บริการ จนทำให้ธุรกิจเติบโต ยอดขายมากขึ้น
การ PR คืออะไร?
การ PR (Public Relations) หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่า การประชาสัมพันธ์ เป็นการสื่อสารของเจ้าของธุรกิจกับกลุ่มลูกค้า คู่ค้า ให้ดูมีความน่าเชื่อถือ โดยการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรที่สอดคล้องกับ Vision และ Mission เพื่อเป็นอีกหนึ่งในเหตุผลที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าจากความน่าเชื่อถือนั้น
ความสำคัญของการ PR คือสายตาของลูกค้าที่มองมาที่แบรนด์ของเรา ถ้าแบรนด์มีภาพลักษณ์ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย โอกาสที่กลุ่มคนเหล่านั้นที่เห็นประชาสัมพันธ์แล้วสนใจซื้อสินค้าและบริการของเราจะมีมากขึ้น
และหากแบรนด์สามารถรักษามาตรฐานและภาพลักษณ์องค์กรได้อย่างสม่ำเสมอ จะส่งผลให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ หรือแม้กระทั่งมาเป็น “แฟน” ของแบรนด์ หรือ เป็น Loyal Customer นั้นเอง
โฆษณา VS PR ต่างกันตรงไหน?
ทั้งโฆษณาและการ PR ต่างเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่จะดึงความสนใจที่ลูกค้ามีต่อสินค้าและบริการทั้งสิ้น แต่ทั้งสองอย่างมีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านเทคนิค ผลลัพธ์ จุดประสงค์และค่าใช้จ่าย ซึ่งจะเปรียบเทียบให้ทุกคนเห็นชัดเจน ดังนี้
เทคนิค
การโฆษณา – จะใช้เทคนิคจู่โจมให้ตรงกลุ่มเป้าหมายแบบสื่อสารทางเดียวที่ผู้ขายส่งถึงผู้บริโภคเท่านั้น การโฆษณาจะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าครั้งละมาก ๆ ทำให้ผู้คนรับรู้จุดเด่นของสินค้าภายในเวลาเพียงชั่วนาที และจดจำเอกลักษณ์ของสินค้าได้ ใช้หลักการตรงจุด รวดเร็ว เป็นที่จดจำ ดึงดูดความสนใจ
สำหรับการโฆษณาผ่านออนไลน์นั้นแบรนด์สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้ตัวโฆษณาไปปรากฏได้ โดยอ้างอิงจากฐานข้อมูลลูกค้าที่มี ความสนใจ และพฤติกรรมการใช้งานต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
การทำ PR – เป็นการแทรกซึมให้เข้าถึงคนทั่วไปในทางอ้อม ไม่เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย เป็นการกระจายข่าวสารทั่วไปของแบรนด์ ให้คนค่อย ๆ พูดถึงแบรนด์ในทางที่ดี จึงเป็นการสื่อสารแบบสองทาง
ค่าใช้จ่าย
การโฆษณา – ในปัจจุบันค่าใช้จ่ายโฆษณาหลากหลายขึ้นอยู่กับงบประมาณที่มี สามารถเริ่มโฆษณาได้ตั้งแต่ 100 บาทต่อวัน ไปจนถึงหลักแสน หรือหลักล้านบาทต่อวันก็เป็นได้
นอกจากงบโฆษณาที่ต้องจ่ายกับทางแพลต์ฟอร์มต่าง ๆ แล้ว การทำโฆษณาจะมีค่าใช้จ่ายในการทำสื่อ ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว การจ้างดารา นักแสดงในการถ่ายทำ ซึ่งทางแบรนด์สามารถเลือกได้ตามงบประมาณที่วางไว้
การทำ PR – จะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่สูงกว่าการทำโฆษณา เพราะการทำ PR บางครั้งจะเริ่มจากการซื้อสื่อของช่องทางต่าง ๆ ซึ่งค่อนข้างสูง ก่อนจะสร้างความสัมพันธ์กับสื่อหรือนักข่าว เพื่อให้ช่วยกระจายเรื่องราว ข่าวสารหรือข้อมูลนั้น ๆ ในราคาที่ย่อมเยาลง
จุดประสงค์
การโฆษณา – การส่งเสริมสินค้าหรือบริการ เพื่อชักจูงให้ผู้ชมที่กลุ่มเป้าหมายได้ซื้อ ซึ่งการโฆษณาจะเป็นการซื้อสื่อ เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการ ทำให้คนรู้จักมากขึ้นและสร้างยอดขายให้ทางแบรนด์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์
การทำ PR – การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์กับลูกค้า และรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัทที่มีอยู่ในสื่อ และทำให้ลูกค้าหรือผู้รับสาร เกิดความชื่นชอบ ประทับใจในสินค้าหรือองค์กร โดยการ PR จะเป็นการสื่อสารภายในองค์กรของตัวเองรวมไปจนถึงสาธารณะชน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน
การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
การโฆษณา – แน่นอนว่าสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า เพราะเป็นเผยแพร่ตรงต่อผู้สนใจ หรือมีความสนใจที่ใกล้เคียงกับสินค้าและบริการของเรา โอกาสที่จะมียอดขายจากการโฆษณาจึงมากกว่าการทำ PR
การทำ PR – จะให้การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายน้อยกว่า ส่วนใหญ่จะเป็นการสื่อสารกับสังคม ปฏิสัมพันธ์กับสังคม โอกาสที่จะได้ยอดขายกลับมาจากความน่าเชื่อถือ จึงน้อยกว่าการโฆษณา
ความน่าเชื่อถือ
การโฆษณา – จะเน้นการชูจุดเด่นของสินค้า จนทำให้ผู้ซื้อรู้ว่าสื่อที่เห็น ทำเพื่อการโฆษณาเท่านั้น ทำให้ความน่าเชื่อของการโฆษณาต่ำกว่า
การทำ PR – ความน่าเชื่อถือ ของการทำ PR จะสูงกว่าการโฆษณา เพื่อเป็นกิจกรรมที่เน้นการสร้างภาพลักษณ์โดยเฉพาะ เพื่อให้ได้รับความเชื่อถือ ไว้วางใจ
อำนาจการควบคุมเนื้อหา
การโฆษณา – ผู้โฆษณาสามารถควบคุมโฆษณาที่ออกไปในแต่ละช่องทางได้อย่างเต็มที่
การทำ PR – บริษัทสามารถสร้างเรื่องราวสามารถเลือกช่องทางที่จะลงได้ แต่สำหรับช่องทางฝากข่าวแล้วจะขึ้นอยู่กับความน่าสนใจของข่าวที่นำไป PR เพื่อให้สื่อนั้นยอมฝากข่าวให้
จริง ๆ แล้ว กลยุทธ์การโฆษณา และการ PR ควรที่จะใช้ควบคู่กัน เช่น หากแบรนด์กำลังจะออกสินค้าตัวใหม่ ก็อาจจะจัดงานเปิดตัวสินค้าแล้วเชิญสื่อต่าง ๆ มา เพื่อเขียนข่าวประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสินค้าตัวใหม่ และอาจจะจ้าง Influence Marketing มารีวิวจุดเด่นของสินค้าลงในแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อให้คนเห็นสินค้าของเรามาขึ้น หรือซื้อสื่อโฆษณาบนบิลบอร์ด แล้วจ้างสื่อที่เชิญมาร่วมงานลงโฆษณา เพื่อโปรโมททั้งสินค้าและงานไปพร้อม ๆ กัน
สำหรับใครที่กำลังทำธุรกิจระยะเริ่มต้น ควรตั้งงบประมาณในการทำโฆษณาให้มาก เพื่อสร้างการรับรู้ให้มากที่สุด เมื่อแบรนด์เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น และแบ่งงบประมาณส่วนหนึ่งสำหรับการทำ PR เพื่อให้กลุ่มลูกค้าเชื่อมั่นในแบรนด์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้บริโภคไม่ได้ตัดสินใจซื้อสินค้า เพียงเพราะราคาหรือสรรพคุณ แต่ต้องการรู้ว่า เมื่อฝากตัวเป็นลูกค้าประจำของสินค้านั้น ๆ ไปแล้ว แบรนด์จะมีจุดยืนหรือให้คุณค่าในด้านอื่น ๆ กลับสู่สังคมหรือตัวผู้บริโภคหรือไม่ ซึ่งการ PR จะสื่อสารให้บริโภครู้จักวิสัยทัศน์ ความตั้งใจและจุดยืนของแบรนด์
โดยสรุป คือ การทำโฆษณา จัดทำขึ้นเพื่อดึงดูดลูกค้า และการทำ PR ก็เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร ให้ความเชื่อมั่นแก่ลูกค้า ถ้าหากทำควบคู่กัน จะยิ่งทำให้แบรนด์ติดตลาดมากยิ่งขึ้น และประสบความสำเร็จในการสร้าง Branding ได้รวดเร็ว
สำหรับธุรกิจหรือองค์กรไหนต้องการที่ปรึกษาทางการตลาด สามารถอีเมล์เข้ามานัดพูดคุยได้ที่ admins@gotitz.com